การศึกษาจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาเพื่อสู่แนวทางการปฏิบัติที่ดีของ การบริหารงานกิจการนักศึกษา กรณีศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษา จำแนกตามเพศ สาขาวิชา และระดับชั้นปี และ 3) เพื่อหาแนวทางการปฏิบัติที่ดีของการบริหารงานกิจการนักศึกษา ด้านจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 246 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างมีสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ คือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มประชากรสองกลุ่มที่เป็นอิสระกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวเพื่อทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มประชากรมากกว่าสองกลุ่ม และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe method)
ผลจากการศึกษาพบว่า 1) จิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับสูง 2) ผลการเปรียบเทียบจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกัน โดยเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย นักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชาต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกัน โดยนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสูงกว่านักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และนักศึกษาที่เรียนในระดับชั้นปีต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกัน
โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 5 มีจิตสำนึกสาธารณะสูงกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 3) แนวทางการปฏิบัติที่ดีของการบริหารงานกิจการนักศึกษาควรมีการส่งเสริมและให้ความสำคัญด้านจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาเพราะถือว่าเป็นกลุ่มเยาวชนที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติ รวมถึงการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการสร้างเสริมด้านจิตสำนึกสาธารณะเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีต่อการอยู่ร่วมกันของสังคม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Ajphru, H. (2001). Relationship between personal factors, leadership, lifestyle and self-learning ability and public consciousness among nursing students Bangkok area (Master’s thesis). Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai)
Chongchani, N., Nopakun, S., & Pochakaparipan, J. (2016). Factors affecting the public mind of Saint Louis College students. Panyapiwat Journal, 8(Suppl.), 198-207. (in Thai)
Daengsermsiri, K. (2009). Public consciousness and youth public awareness model in higher education institutions. FEU Academic Review, 2(2), 27-32. (in Thai)
Kanjanavisut, C. (2021). Guideline of strengthening publics minds of undergraduate students at Kasetsart University. Journal of Social Science & Humanities, 47(1), 99-118. (in Thai)
Kampan, A. (2016). A Study of factor analysis of public consciousness of university students in Bangkok Area (Doctoral dissertation). Srinakharinwirot University, Bangkok. (in Thai)
Kota, P. (2011). A study of student monks’ public consciousness at Mahachulalongkornrajavidyalaya University (Wangnoi) (Master’ s thesis). Srinakharinwirot University, Bangkok. (in Thai)
Office of the National Economic and Social Development Council. (2015). The 12th national economic and social development plan 2017-2021. Bangkok: Office of the Prime Mister. (in Thai)
Phanmool, J. (2021). Enhancing good citizenship awareness for graduate students of Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi. RMUTSB Academic Journal (Humanities and Social Sciences), 6(1), 109-124. (in Thai)
Pimmas, S., Yongsorn, C., & Ponathong, C. (2021). A study the social services characteristics of undergraduate students at Srinakharinwrot University. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(4), 227-240. (in Thai)
Rajamangala University of Technology. (2021). Office of Academic Promotion and Registration B.E. 2564. Retrieved 21 April 2021, from https://register.rmutsb.ac.th
Saehum, S., & Kaemkate, W. (2017). Development of a public mind scale for undergraduate students. An Online Journal of Education, 12(2), 92-107. (in Thai)
Wongrattana, C. (2010). Techniques for using statistics for research. Bangkok: Thapnaramit. (in Thai)