การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการประยุกต์การแปลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับวิธีสอนโดยใช้เกม

Main Article Content

รณกร ผดุงประเสริฐ
วัฒนา มณีวงศ์
วิโชติ พงษ์ศิริ
กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การประยุกต์การแปลงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับวิธีสอนโดยใช้เกมเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อศึกษาทักษะด้านสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับวิธีสอนโดยใช้เกม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับวิธีสอนโดยใช้เกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 2/4 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะสะเต็มศึกษา และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การประยุกต์การแปลงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับวิธีสอนโดยใช้เกม หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับวิธีสอนโดยใช้เกมมีทักษะด้านสะเต็มศึกษาอยู่ในระดับมาก 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับวิธีสอนโดยใช้เกม อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ผดุงประเสริฐ ร., มณีวงศ์ ว., พงษ์ศิริ ว., & เชาว์วัฒนกุล ก. (2022). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการประยุกต์การแปลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับวิธีสอนโดยใช้เกม. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 180–195. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/article/view/258532
บท
บทความวิจัย

References

Chamrat, S. (2017). The definition of STEM and key features of STEM education learning activity. STOU Education Journal, 33(2), 13-34. (in Thai)

Chawanapaisarn, J., Varasunun, P., & Arunyanart, S. (2017). The development of mathematics achievement in Pythagorean Theorem by integrated STEM education of students in Mathayomsukasa 2 of Banglane Wittaya School. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 397-312. (in Thai)

Funfuengfu, V. (2017). Stem education and Thailand education. Journal of Humanities and Social Sciences Valaya Alongkorn, 7(2), 13-23. (in Thai)

Government Gazette. (1999). National education act B.E. 1999. Volume 116, Part 74, August 19, 1999.

Khunpinee, P., & Robroo, I. (2019). The development of learning actives via electronic games: C programming language subject for mathayomsuksa 4 students, Rajavinitbangkhen School. NRRU Community Research Journal, 13(1), 215-224. (in Thai)

Kruatong, S., & Leesuksam, N. (2020). The study of engineering design process skill using STEM education on electricity of grade 9 students. Journal of Education and Human Development Sciences, 4(1), 78-91. (in Thai)

Lohakarok, C. (2017). The results of mathematics learning management by using accompanying games affecting learning achievement and attitudes towards mathematics of grade 4 students. The 17th National research presentations Graduate Network Northern Rajabhat University (pp. 784-792). Phitsanulok: Pibulsongkram Rajabhat University. (in Thai)

Mahoney, M. P. (2010). Students' attitudes toward STEM: Development of an instrument for high school STEM-based programs. Journal of Technology Studies, 36(1), 24-34.

Ministry of Education. (2017). Basic education core curriculum B.E. 2008 Revised B.E. 2017. Bangkok: Office of Academics and educational standards, Office of the Basic Education Commission. (in Thai)

Pramot, P. (2018). Development of mathematical learning activity packages by using cooperative learning coupled with games to enhance learning outcome and desirable mathematical characteristics for Prathomsuksa 5 students (Master’ thesis). Chiang Mai University, Chiang Mai. (in Thai)

Prayadsup, P., Varasunun, P., & Oonwannadham, S. (2019). The Development of learning achievement in mathematics on Pythagorean Theorem by integrating STEM education of 8th graders of Kanchanapisekwitthayalai Suphanburi School. Journal of Education and Human Development Sciences, 3(1), 58-73. (in Thai)

Siripattrachai, P. (2013). STEM education and 21st century skills development. Retrieved 3 August 2020, from https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/april_june_13/pdf/aw07.pdf. (in Thai)

Sribunruang, N. (2011). The effects of mathematics games for enhancing computation ability for prathomsuksa 1 students. (Master’s thesis). Buriram Rajabhat University, Buriram. (in Thai)

Tribunnithi, K. (2021). Development of training curriculum to enhance innovative thinking skills for industrial teacher students. RMUTSB Academic Journal (Humanities and Social Sciences), 6(2), 238-247. (in Thai)

Watchanakomkul, T. (2012). Teaching by using games to develop mathematics learning achievement on counting the number of primary school year 1 students (Master’s thesis). Songkhla Rajabhat University, Songkhla. (in Thai)