การพัฒนารูปแบบการบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะของรูปแบบการบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ และขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมจากความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie, & Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสำหรับตรวจสอบร่างรูปแบบและความเหมาะสมของรูปแบบ ซึ่งมีค่ามีค่า IOC เท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจาการศึกษา พบว่า 1) การพัฒนารูปแบบการบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย
7 องค์ประกอบ ได้แก่ นโยบายและกลยุทธ์ของหน่วยงาน การวางแผนการบริหารงาน การมุ่งเน้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องขององค์กร การวิเคราะห์งานและการจัดการ การมุ่งเน้นบุคลากร การมุ่งเน้นการดำเนินการ และผลลัพธ์การดำเนินงานของหน่วยงานตามที่กำหนด 2) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนโดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับความเหมาะสมจากมากไปหาน้อย คือ นโยบายและกลยุทธ์ของหน่วยงาน การมุ่งเน้นบุคลากร ผลลัพธ์การดำเนินงาน การวางแผนการบริหารงาน การวิเคราะห์งานและการจัดการ การมุ่งเน้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องขององค์กร และการมุ่งเน้นการดำเนินการ ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Chaisuwan, S. (2018). Model of organization development for the excellence of private universities. Journal of Education Mahasarakham University, 12(1), 227-237. (in Thai)
Chaopankrang, S. (2022). The development of research management model of the Faculty of Industrial Education, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi. Journal of Roi Kaensarn Academic, 7(5), 39-52. (in Thai)
Khamchan, C. (2015). Development of an academic administration towards excellence model of Educational Opportunity Extension Schools under the Office of Basic Education Commission in the Northeast Region (Doctoral dissertation). Sakon Nakhon Rajabhat University, Sakon Nakhon. (in Thai)
Kongkam, K., Ouppinjai, S., & Tunkaew, S. (2021). The best practice administration of royal awarded school: A case study of Ban Wiang Phan School, Chiang Rai Province. Journal of Education Academic Chiang Rai Rajabhat University, 6(1), 1-24. (in Thai)
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Lertmalao, W., & Boonyarataphan, T. (2018). Organization development toward high performance organization of Rajabhat Universities in Northeastern region. Journal of Political Science and Public Administration, 9(2), 209-248. (in Thai)
National Productivity Institute. (2003). Case studies best practices process management. Bangkok: Redfern Creation.
Policy and Planning Division, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi. (2017). Strategic plan B.E. 2017-2031. Ayutthaya: Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi.
Poonsopin, T. (2021). Development of a management model towards the excellence in sports of sports schools under the local administrative organization (Master’s thesis). Sakon Nakhon Rajabhat University, Sakon Nakhon. (in Thai)
Somapha, D. (2016). Analysis of administrative factor and best practice for private schools toward the royal award requisition. Journal of the Association of Researchers, 21(1), 101-121. (in Thai)
Srisa-ard, B. (2010). Basic research (8th ed.). Bangkok: Suviriyasarn. (in Thai)