การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนางานแผนและการติดตามของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Main Article Content

สุดารัตน์ ลำมะเดช

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและแนวปฏิบัติงานแผนและการติดตามของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 73 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการของเครซี่และมอร์แกนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.47-0.74 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพทั่วไปของงานแผนและการติดตามของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวปฏิบัติงานแผนและการติดตามของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มีรายละเอียดดังนี้ (1) ด้านการวางแผน ควรเพิ่มการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ของคณะสู่บุคลากรของคณะรับทราบ ให้มีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี รวมถึงการถ่ายทอดตัวชี้วัดที่สำคัญของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายแจ้งให้รับทราบเพื่อดำเนินการ (2) ด้านการจัดทำแผน ควรมีการออกแบบขั้นตอนระบบการทำงาน (SOP) ให้บุคลากรมีการรับรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง (3) ด้านการปฏิบัติตามแผน ควรนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และ (4) ด้านการติดตามและประเมิน การจัดทำรายงาน การแจ้งและติดตามผลการดำเนินงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อไม่เกิดความซ้ำซ้อน รวมถึงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน

Article Details

How to Cite
ลำมะเดช ส. . (2023). การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนางานแผนและการติดตามของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 297–309. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/article/view/265131
บท
บทความวิจัย

References

Bhengbhun, N., Sarnswang, S., Buasuwan, P., & Lapanachokdee, W. (2019). Creative leadership, innovative organization, school climate and school culture affecting effectiveness of secondary schools under the Office of the Basic Education Commission, in the vicinity of Bangkok. RMUTSB Academic Journal (Humanities and Social Sciences), 4(2), 154-172. (in Thai)

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Nitipiche, P. (2016). A study of personnel participation in administering the budget annual strategic action plan of the Faculty of Education, Thaksin University (research report). Songkhla: Faculty of Education, Thaksin University. (in Thai)

Patiwikraiwong, P., Chankong, W., & Ratioran, S. (2018). Factors affecting success of strategic planning in administration at Sirindhorn College of Public Health in Yala. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(3), 110-120. (in Thai)

Saengsriluang, T., Potiphitak, P., & Santhawan, P. (2021). Guidelines for the administration according to the strategic plan of the Sport Schools under Thailand National Sports University. The Journal of Research and Academics, 4(2), 187-200. (in Thai)

Siri, S. (2012). Performance on operating action plan of Ban Mae Hae Nua school, Mae Chaem district, Chiang Mai province (Master’s thesis). Chiang Mai University, Chiang Mai. (in Thai)

Srisa-ard, B. (2013). Preliminary research (9th ed.). Bangkok: Suveeriyasan. (in Thai)

Tonkanya, S., Chanluechai, S., & Chomya, R. (2016). Problems and guidelines of strategy implementation in basic educational institutions under the supervision of Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4. Journal of Education Mahasarakham University, 10(3), 164-177. (in Thai)

Yolao, D., Kasemnet, L., Jingee, P., Kasornphaet, P., Naiyapat, O., Thiamboonprasert, C., Thongpakdee, T., & Phokawattana, K. (2008). Research to assess performance according to the university's strategic plan (research report). Bangkok: Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University. (in Thai)