Sorcery, Religion and Secularism: An Analysis of the Objection to ‘Khong Khaek’ Film
Abstract
บทความนี้มุ่งนำเสนอบทวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจารีตคำสอนของอิสลามกับการใช้ชีวิตทางศาสนาของ กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์ในบริบทสังคมมุสลิมในประเทศไทยซึ่งมีเหตุการณ์การคัดค้านภาพยนตร์เรื่องของ แขกเป็นฉากหลัง ผลการวิเคราะห์ พบว่า ไสยศาสตร์สะท้อนมิติทางศาสนาที่ทับซ้อนและสอดประสานกับมิติต่าง 1ๆ ของศาสนาอิสลามอย่างกลมกลืนในฐานะของศาสนาพื้นถิ่นที่มีมานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทว่า การปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง กับไสยศาสตร์ค่อย ๆ ถูกทำให้เป็นความวิปริตแปลกแยกออกจากจารีตทางศาสนาที่ยืดถือกันในฐานะคำสอนแท้ ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการที่ค่อยเป็นค่อยไปของกระบวนการทำให้เป็นโลกิยวิสัย อันประกอบไปด้วยแรงบีบอัดจาก การสถาปนาอำนาจรัฐที่ให้ความชอบธรรมต่อศาสนาแบบทางการตามหลักคิดโลกิยนิยมและจากการเติบโตของ การศึกษาสมัยใหม่ที่จัดระบบความคิดของชาวมุสลิมให้มีความเป็นวิทยาศาสตร์ซึ่งปฏิเสธความไร้เหตุผล กล่าวได้ว่า กระแสต่อต้านและวิพากษ์วิจารณ์ภาพยนตร์เรื่องของแขกจัดเป็นตัวอย่างของอิทธิพลเชิงปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้ง สองนั่นเอง ทั้งนี้ คาดการณ์ใด้ว่าวิถีชีวิตทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์จะยังคงดำรงอยู่ต่อไปในฐานะพื้นที่กันชน ระหว่างศาสนาที่เป็นแบบแผนกับความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความในวารสารรูสมิแลเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปเผยแพร่
ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนตามกฎหมายลิขสิทธิ์ และแจ้งให้ทางกองบรรณาธิการทราบ
กองบรรณาธิการขอสงวนลิขสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำเพื่อความเหมาะสม