การผลิตซ้ำทางสังคม และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ริฏวาน ศอลิห์วงศ์สกุล
  • วรภาคย์ ไมตรีพันธ์
  • เอกรินทร์ สังข์ทอง

คำสำคัญ:

การผลิตซ้ำทางสังคม, การศึกษา, ความเหลื่อมล้ำ, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

บทความวิชาการ เรื่อง การผลิตซ้ำทางสังคม และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเกิดการผลิตช้ำทางสังคม (Social reproduction) ที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำ ทางการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านแนวคิดของ Pierre Bourdieu รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น ทุนทางสังคม (Social Capital) และทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ผลการวิเคราะห์พบว่า แนวคิดกระบวนการ ผลิตซ้ำทางสังคมของ Bourdieu ในบริบทพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถอธิบายและนำมาใช้ศึกษา ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ เนื่องจากในสังคมพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบันมีหลากหลายปัจจัยที่ ทำให้บุคคลสามารถเข้าถึงการศึกษาได้แตกต่างกัน โดยเฉพาะสังคมไทยที่มีการผลิตซ้ำทางสังคมที่ค่อนข้างชัดเจน ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจึงมีอยู่ทั่ว การใช้แนวคิดนี้ในการวิเคราะห์ปัญหาจะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางใน การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไปในอนาคต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29

How to Cite

ศอลิห์วงศ์สกุล ร. ., ไมตรีพันธื ว., & สังข์ทอง เ. (2023). การผลิตซ้ำทางสังคม และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารรูสมิแล, 44(3), 47–62. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/271652