ปู่แสะย่าแสะ กับประเพณีเลี้ยงผีเมืองเชียงใหม่

Main Article Content

อาสา คำภา

Abstract

This paper is studies the story of Pusae Yasae with the ritual of spirit worship of Chiang Mai by analyzing the myth, the historical document together with the depth interview and participation observation. It reveals that Pusae Yasae has been one of the ancient Arag, Phemoung, Jainban jainmoung which oldest and important of Chiang Mai.In the part the feast for Pusae Yasae is, originally, a part of the ritual for the City Spirits that guard Jainban Jainmoung, Chiang Mai. This ritual is linked to the tradition of the Lua who is an original ethnic tribe of the region of Southeast Asia. In addition, the ritual also reflected the cultural combination between folklore and Buddhism, between the the old native and the native who accept higher culture, to the extent where the ritual itself had become a custom of the people of Chiang Mai City in the ancient time, once it had been a part of the ceremony of spirit worship of Chiang Mai during the 8th–9th month (the Lunar Lanna month). Unfortunately, the process of centralization since the reign of King Rama V caused the extinction of the ritual. However, the ritual of the feast for Pusae Yasae has been preserved by local people and has been locally called the ‘Liang Dong’ which means ‘the feast for guardian spirits of the forest’. At the meantime, Pusae Yasae have become sacred spirits for local people in Mae Hia, Sub - District and around Doi Kam area, where locate outside the central area of Chiang Mai Province. The feast for Pusae Yasae consists of compositions and steps that local people have been practicing nowadays.

บทคัดย่อ

บทความนี้ เป็นการศึกษาเรื่องราวปู่แสะย่าแสะ กับประเพณีเลี้ยงผีเมืองเชียงใหม่ ทำการศึกษาจากตำนาน เอกสารประวัติศาสตร์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ปู่แสะย่าแสะ ถือเป็นหนึ่งในอารักษ์ ผีเมือง เจนบ้านเจนเมืองที่เก่าแก่และสำคัญของเมืองเชียงใหม่พิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับชาวลัวะ กลุ่มชนเก่าแก่ของอุษาคเนย์ และสะท้อนถึงการปะทะประสานทางวัฒนธรรมระหว่างคติความเชื่อดั้งเดิมกับพุทธศาสนา ระหว่างกลุ่มชนพื้นเมืองเก่า กับกลุ่มชนที่สมาทานในวัฒนธรรมที่สูงกว่าผสมผสานจนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวเมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณ ในอดีตการเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ เป็นส่วนหนึ่งพิธีเลี้ยงผีเมืองที่จะกระทำอย่างพร้อมเพรียงกันหลายจุดทั่วทั้งเมืองเชียงใหม่ในช่วงเดือน 8 ถึง เดือน 9 (เหนือ) หากแต่ผลพวงจากกระบวนการรวมศูนย์อำนาจนับแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มีผลให้พิธีกรรมเลี้ยงผีในระดับเมืองค่อย ๆ สูญหายไป อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ กลับยังคงดำรงสืบต่อมาโดยองค์กรชาวบ้าน และถูกเรียกในชื่ออย่างสามัญว่า “เลี้ยงดง” ขณะที่ปู่แสะย่าแสะได้กลายเป็น ผี/สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำท้องที่แถบตำบลแม่เหียะ บริเวณดอยคำ นอกตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งทุกปีชาวบ้านยังทำการเลี้ยงจนถึงปัจจุบัน

Article Details

Section
Academic Article

References

กำพล จำปาพันธ์. (2552). รัฐและความเป็นไทยในประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาว. เมืองโบราณ. 35(2):50-68.

กิติ แก่นจำปี. (2525). ความเชื่อเรื่องผีปู่แสะย่าแสะ. ศึกษาศาสตร์สาร. (ตุลาคม 2524-กันยายน 2525):121-133.

ไกรศรี นิมมานเหมินทร์. (2527) ภูติลัวะผู้รักษาเมืองเชียงใหม่. ใน หนังสือเชิดชูเกียรตินายไกรศรี นิมมานเหมินทร์, แปลโดย กมล วัชรยิ่งยง. เชียงใหม่: ไตรรงค์การพิมพ์.

เจีย แยนจอง (ยรรยง จิระนคร). (2548). “คนไท” ไม่ใช่ “คนไทย” แต่เป็นเครือญาติ ชาติ ภาษา รวมความรู้ “ไทยศึกษา” ของ “ศาสตราจารย์สองแผ่นดิน”. กรุงเทพฯ: มติชน.

ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2530). ลัวะเมืองน่าน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

ธนันท์ เศรษฐพันธ์. (2536). การใช้เรื่องเล่าผีปู่แสะย่าแสะ: ศึกษาเฉพาะกรณีชาวบ้านป่าจี้. วิทยานิพนธ์ปริญญามานุษยวิทยามหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. คนเมือง. (2544). เชียงใหม่: โครงการการศึกษาการปกครองท้องถิ่น คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาปัญหาเมืองเชียงใหม่.

บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2547). ไทยสิบสองปันนา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศยาม.

ประเวศ สายกัปป์. (2543). ตำนานปู่แสะย่าแสะ. เชียงใหม่: สภาวัฒนธรรมตำบลแม่เหียะ.

มณี พยอมยงค์. (2529). ประเพณีบูชาเทวดา สืบชะตาเมือง. ใน กำแพงเมืองเชียงใหม่ อนุสรณ์เนื่องในพิธีเปิดและฉลองประตูท่าแพ 13 เมษายน 2529. เชียงใหม่: ทิพย์เนตรการพิมพ์.

มาลา คำจันทร์. (2544). เล่าเรื่องผีล้านนา. กรุงเทพฯ: มติชน.

แมคกิลวารี, แดเนียล ดี.ดี. (2544). กึ่งศตวรรษในหมู่คนไทยและคนลาว อัตชีวประวัติของ ศาสนาจารย์ เดเนียล แมคกิลวารี ดี.ดี. แปลโดย จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล. กรุงเทพฯ: มติชน.

รัตนาพร เศรษฐกุล. (2542). อิทธิพลของคติความเชื่อทางสังคมวัฒนธรรมต่อพัฒนาการของรัฐไท: กรณีศึกษาไทดำ ลื้อและยวน. โครงการวิจัยวัฒนธรรมชนชาติไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

รัตนาพร เศรษฐกุล. (2552). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ วัฒนธรรมแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน. โครงการวิจัยเศรษฐกิจวัฒนธรรมภาคเหนือตอนบน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

วิจิตร ว่องวารีทิพย์. (2550). การจารึกความทรงจำของท้องถิ่น: สิ่งที่ปรากฏใน ‘พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์’. วารสารไทยคดีศึกษา 4(1):84 - 131.

ศรีเลา เกษพรหม. (2548). “ทักษาและชะตาเมือง,” ใน ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ และคณะ, บรรณาธิการ. ไม่มีวัดในทักษเมืองเชียงใหม่ บทพิสูจน์ความจริงโดยนักวิชาการท้องถิ่น, เชียงใหม่: มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองและเครือข่ายชาวพุทธเชียงใหม่ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับมูลนิธิโตโยต้า. วีดีทัศน์พิธีกรรมเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ, [2529?].

สงวน สุขโชติรัตน์. (2512). ประเพณีไทยภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สมศักดิ์ วุฒิเฟย, ปริวรรต. (2524). ตำนานพื้นเมืองลานนาเชียงใหม่. หน่วยงานศึกษาวิจัยคัมภีร์ใบลานภาคเหนือ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมหมาย เปรมจิตต์, ปริวรรต. (2540). ตำนานเชียงใหม่ปางเดิม. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2543). ชุมชนโบราณในแอ่งเชียงใหม่ - ลำพูน. กรุงเทพฯ: ฝ่ายโรงพิมพ์บริษัท.

แสง มนวิทูร. (2543). ชินกาลมาลีปกรณ์. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์แด่นายกี นิมมานเหมินทร์ เนื่องในวันเปิดตึกคนไข้พิเศษ “นิมมานเหมินทร์ - ชุติมา” โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2510). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2540). คนเชียงใหม่. ใน เชียงใหม่ เพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน. กรุงเทพฯ:สารคดี.

อานันท์ กาญจนพันธ์. (2542). พิธีไหว้ผีเมืองและอำนาจรัฐในล้านนา. ใน สังคมและวัฒนธรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

อาสา คำภา. (2549). ล้านนา และรัฐฉาน: ความเปลี่ยนแปลงภายใต้กระบวนการรวมศูนย์อำนาจและช่วงสมัยอาณานิคม ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19-20. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Andrew Forbes and David Henley. (1997). Khon Muang : People and Principalities of North Thailand. Asia Film House.

Hallet, Holt. (1988). A Thousand Miles on An Elephant in the Shan States. Bangkok : White Lotus Co.,Ltd.