ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาไทย ศึกษาเฉพาะกรณี นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อติพร เกิดเรือง
วรเดช จันทรศร
ฤาชา เกิดวิชัย
นิพนธ์ ศศิธรเสาวภา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินระดับความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาไทยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 3) เพื่อวิเคราะห์จำแนกประเภทปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาไทยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในศึกษา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามที่เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาไทย 2) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และ 3) เก็บข้อมูลจากกรณีศึกษา (Case Studies) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) ผลของการศึกษา พบว่า
1. การประเมินระดับความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาไทยในภาพรวม พบว่า มีระดับความสามารถอยู่ในระดับดีมากในทุกด้าน โดยระดับความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาไทยระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญที่ .001, .01 และ .05 ตามลำดับ กล่าวคือ ค่าเฉลี่ยของนักศึกษาไทยสังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีค่าเฉลี่ยของตัวแปรทุกด้านสูงกว่า นักศึกษาไทยสังกัดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
2. ปัจจัยด้านคุณภาพการจัดการศึกษา ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ความชัดเจนของนโยบาย ส่งผลต่อความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาไทย โดยตัวแปรพยากรณ์หรือปัจจัยที่ศึกษา สามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตาม หรือความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาไทย ได้ร้อยละ 39.4 (R= .628, R2= .394)
3. ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการจำแนกประเภท ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาไทยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พบว่า มีมากกว่า 1 ตัวแปร โดยตัวแปรที่สามารถจำแนกกลุ่มได้ดีที่สุด คือ ระดับอายุ ลำดับรองลงมา ได้แก่ คุณภาพการจัดการศึกษา การยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น ความคิดริเริ่ม ระดับการศึกษาผู้ปกครอง ความชัดเจนของนโยบาย ภาวะผู้นำของผู้บริหาร รายได้ผู้ปกครอง ความคิดยืดหยุ่น เพศ ความคิดละเอียดลออ สมรรถนะของมหาวิทยาลัย การวิเคราะห์ การประเมินผล และความคิดคล่องแคล่ว ตามลำดับ
4. ผลการศึกษาในเชิงคุณภาพ พบว่า มีปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาไทยเพิ่มเติมอีก 9 ด้าน ได้แก่ 1. เวทีการแสดงผลงาน 2. แรงบันดาลใจ 3. การขัดเกลาทางสังคม 4. ทำงานเป็นทีม 5. ส่งเสริมกิจกรรม 6. การมีส่วนร่วม 7. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 8. การศึกษาดูงาน และ 9. การสั่งสมประสบการณ์ ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
เกิดเรือง อ., จันทรศร ว., เกิดวิชัย ฤ., & ศศิธรเสาวภา น. (2018). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาไทย ศึกษาเฉพาะกรณี นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 48–60. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/spurhs/article/view/116379
บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. 2554. รายงานการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. 2545. ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บุคส์ลิงค์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2553. เอกสารการประชุมโครงการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาทั่วประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์. เอกสารอัดสำเนา.

ราชกิจจานุเบกษา. 2553. พระบรมราชโองการประกาศ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษ 152 ง วันที่ 14 ธันวาคม 2554.

วรเดช จันทรศร. 2554. ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

วรเดช จันทรศร. 2527. การนำนโยบายไปปฏิบัติ: ตัวแบบและคุณค่า. กรุงเทพฯ : วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 24 (4), 535-554.

De Bono. Edward. 1990. Lateral Thinking: Creativity Step by Step. New York, NY: Harper & Row, Publishers.

De Bono. Edward. 1995. “Serious creativity”. The Journal for Quality and Participation. ABI/INFORM Global. 18 (5), 12.

Defleur, M. 1989. Theories of mass communication (5 th ed.). New York : Longman. 173.

Elmore, Richard F. 1980. “Backward Mapping: Implementation Research and Policy”. Decisions, Political Science Quarterly, 94 (4), 32.

George C Edward. 1980. Implementing Public Policy , Washington, dc: San Francisco : W. H. Freeman.

Hambleton, Robin. 1983. “Planning Systems and Policy Implementation”, Journal of Public Policy, 3 (4), 397-418.

James P. Lester, Ann O’M. Bowman, Malcolm L. Goggin, and Laurence J. O'Toole, Jr. 1987. Public Policy Implementation: Evolution of the Field and Agenda for Future Research, Policy Studies Review. 7, 200-216.

Lipsky, Michael. 1980. Street-Level Bureaucracy : Dilemmas of the Individual in Public Services, Russell Sage Foundation : New York.

MacKinnon, D. W. 2005. IPAR's Contributions to the Conceptualization and Study of Creativity. Perspectives in Creativity. Taylor, I. A. & Getzels, J. W. (Eds.). Chicago, IL: Aldine Publishing Company.

Miller, Ron. 2000. Making Connections to the World : some Thoughts on Holistic Curriculum Brandon, VT: Foundation for Educational Renewal.

Mumford, M. D., & Gustafson, S. B. 1988. Creativity syndrome: Integration, application, and innovation. Psychological Bullet in, 103, 27 – 43.

Nakamura, R. T., & Smallwood, F. 1980. The politics of policy implementation. New York: Martin's Press.

Rosenmen, M.F. 1988. Journal of Creative Behavior. Retrieved September 30, 2010.

Sorg, James D. 1983. A Typology of Implementation Behavior of Street-Level Bureaucrats : Policy Study Review. 2.

Sabatier, Paul A. and Daniel A. Mazmanian. 1980. The Implementation of Public Policy: A Framework of Analysis. Policy Studies Review Annual. 4, 181-203.

Torrance, E.Paul. 1962. Education and the Creative Potential. Minneapolis : The Lund Press, Inc.

Wallach, Michael A. , and Kogan, Nathan. 1975. Modes of Thinking in Young Children. New York : Holt, Rinehart and Winston, Inc.