ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในด้านเศรษฐกิจ: กรณีศึกษานักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา (Knowledge, Attitude and Behavior in Applying Sufficiency Economy Philosophy to Economy: A Case Study of Chitralada Technology Institute Students)

Main Article Content

สันทนีย์ ผาสุข (Santanee Phasuk)
พีรภัทร์ เกียรติภิญโญ (Peerapat Kiatpinyo)
ตฤษณา โสรัจจ์ (Tritsana Sorat)
อรอุมา นาทสีทา (Onuma Natseeta)

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในด้านเศรษฐกิจ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในด้านเศรษฐกิจ และ (3) ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในด้านเศรษฐกิจ ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา จำนวน 219 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับดี มีทัศนคติต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมในระดับเห็นด้วย และมีพฤติกรรมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในบางครั้งทุกประเด็น ในด้านการออม ด้านการลดรายจ่าย และด้านการเพิ่มรายได้ ตามลำดับ (2) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในด้านเศรษฐกิจ พบว่า ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (3) ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า รายได้/เดือน ภูมิลำเนา อาชีพของบิดาและอาชีพของมารดาส่งผลต่อพฤติกรรมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในด้านการลดรายจ่าย รายได้/เดือนส่งผลต่อพฤติกรรมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในด้านการเพิ่มรายได้ และอาชีพของบิดา ค่าอาหารเฉลี่ยต่อวัน ค่าที่พักเฉลี่ยต่อเดือนและค่าอุปกรณ์การเรียนต่อเดือนส่งผลต่อพฤติกรรมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในด้านการออมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้พบว่า รายได้/เดือน อาชีพของบิดา ค่าอาหารเฉลี่ยต่อวัน ค่าอุปกรณ์การเรียนต่อเดือนที่แตกต่างกันของนักศึกษาส่งผลพฤติกรรมด้านการออมแตกต่างกัน และค่าที่พักเฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันของนักศึกษาส่งผลให้นักศึกษามีทัศนคติต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
(Santanee Phasuk) ส. ผ., (Peerapat Kiatpinyo) พ. เ., (Tritsana Sorat) ต. โ., & (Onuma Natseeta) อ. น. (2020). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในด้านเศรษฐกิจ: กรณีศึกษานักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา (Knowledge, Attitude and Behavior in Applying Sufficiency Economy Philosophy to Economy: A Case Study of Chitralada Technology Institute Students). วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21(1), 64–76. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/spurhs/article/view/241124
บท
บทความวิจัย

References

Bhiromrat, K. (2010). Lifestyle behaviors according to the sufficiency economy philosophy of students Rajabhat University in Bangkok. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai)

Chutiwisuit, P. (2009). Measuring knowledge and applying sufficiency economy philosophy to Arrange teaching at the bachelor degree level Krirk University. Bangkok: Krirk University. (in Thai)

Karunapen, S. (2017). Factors Affecting Savings Level and Savings Behaviour Gen Y. Independent Study of the Degree of Master of Business Administration. Bangkok: Thammasart University. (in Thai)

Komenjumrus, P. (2017). The Relationship between Knowledge Level of Sufficiency Economy and Practice Level of Sufficiency Economy in Song Klong Sub District Community, Bangpakong District, Chachoengsao Province. Bangkok: Sripatum University. (in Thai)

Nongyai, N. (2017). Saving Behaviour among people living in Pattaya city, Chonburi province. Independent Study of the Degree of Master of Public Administration. Chonburi: Burapha University. (in Thai)

Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). The National Economic and Social Development Plan (2017-2021). [Online]. Retrieved February 19, 2017, from: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2016/A/115/1.PDF.

Phuengpunum, S. (2013). Sufficiency Economy Philosophy and Lifestyle: Case Study: Undergraduate Students College of Management and Management King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. Bangkok: King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. (in Thai)

Saravirot, P. (2010). Expenditure behaviors of students obtaining studen loan fund at Prince of Songkla University, Hat Yai campus. Thesis of the Degree of Master of Arts in Human and Social Development Program. Songkla: Prince of Songkla University. (in Thai)

Somasri, P. (2013). Study of life of undergraduate students Srinakharinwirot University. Thesis of the Degree of Master of Higher Education. Bangkok: Srinakharinwirot University. (in Thai)

Tekhanmag, K. (2013). Factors Related to Life Styles by Sufficiency Economy Philosophy of Students of Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. Phranakhon Si Ayutthaya: Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. (in Thai)