ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลของโรงเรียนและความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 53 คน ครูจำนวน 123 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 151 คน รวมทั้งหมด 327 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 ประสิทธิผลของโรงเรียนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโดยภาพรวมและรายด้าน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ หลักการกระจายอำนาจ หลักการมีส่วนร่วม หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล และหลักการบริหารตนเอง ประสิทธิผลของการบริหารงาน โดยรวมและรายด้านมีประสิทธิผลการบริหารงานอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารงานงบประมาณ โดยรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อพิจารณารายด้าน มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยมีความสัมพันธ์กับด้านการบริหารงานบุคคลสูงที่สุด รองลงมาด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานวิชาการ และ มีความสัมพันธ์กับด้านการบริหารงานทั่วไปต่ำที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
References
ธนิก เหลาแก้ว. (2551). บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นบาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ธนัส วิชาเจริญ. (2552). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนแม่ออนวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิรุตติ์ พลบุตร. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญตา ชาญชำนิ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 3.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
พรทิพ ภาแก่นเรือง. (2553). ความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
พิสณุ ฟองศรี. (2552). วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
มะรอสตี เจ๊ะแว. (2552). การศึกษาการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนและครูสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2549). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (Online). สืบค้นจาก : http://www.moe.go.th/wijai/sbm.html.
สุชาดา จักรพิสุทธิ์. (2552). ชุมชนกับการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา (Online). สืบค้นจาก : http://www.thaiknowledge.org/board/.
สุมนา กำเนิดมี. (2551). การกระจายอำนาจบริหารการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจาย อำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. (2556). สารสนเทศ ทางการศึกษา. สุราษฎร์ธานี : กลุ่มนโยบายและแผน.