MARKETING ENVIRONMENT OF TOURISM BUSINESS IN SONGKHLA FOR ASEAN COMMUNITY ENTRANCE PREPARATION

Main Article Content

สุชาดา บุญสนอง
ศิษฎ์ธวัช มั่นเศรษฐวิทย์
ชมพูนุท ศรีพงษ์
อุมาพร เชิงเชาว์

Abstract

 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพร้อมของสภาพแวดล้อมทางการตลาดของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาระดับความพร้อมด้านการตลาดของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดสงขลาเพื่อการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน        3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการตลาดกับการเตรียมความพร้อม       ด้านการตลาดของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดสงขลาเพื่อการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 4) เพื่อพยากรณ์ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเตรียม    ความพร้อมของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดสงขลาเพื่อการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ 5) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว             ในจังหวัดสงขลา ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดสงขลา ทั้งหมดจำนวน 220 ราย โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่    ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได ผลการศึกษาพบว่า สภาพแวดล้อมทางการตลาดของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดสงขลามีความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด           เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม และด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ตามลำดับ ในขณะที่การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดสงขลา เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านพนักงานบริการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์และด้านกระบวนการในการให้บริการ อีกทั้งสภาพแวดล้อมทางการตลาดด้านเศรษฐกิจสามารถทำนายการเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของธุรกิจได้ร้อยละ 5.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 โดยสมการพยากรณ์การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดสงขลาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เขียนในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้


= 2.35 สภาพแวดล้อมทางการตลาดด้านเศรษฐกิจ

Article Details

Section
Research Article

References

กรมการท่องเที่ยว. (2556). ฐานข้อมูลผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (Online). สืบค้นจาก : http://122.155.9.59:8081/stm4/register.List_search.jsp.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555 - 2559(Online). สืบค้นจาก : http://www.tica.or.th/images/plan_tourism2555-2559/2555-2559.pdf.
ครรชิต พุทธโกษา. (2554). กรอบประเด็นการวิจัยของประเทศไทยให้พร้อมรับสถานการณ์การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Online). สืบค้นจาก : http://www.op.mahidol.ac.th/orra/orra_tha/research_article/ASEAN.pdf.
ณชัยศักดิ์ จุณณะปิยะ. (2555). อิทธิพลของนวัตกรรมทางการตลาดและสภาพแวดล้อมทางการตลาดที่มีต่อผลการดำเนินงานทางการตลาดของโรงแรมระดับสี่และ ห้าดาวในประเทศไทย. ในเอกสารการประชุมทางวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 104 - 113.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2555). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการ จัดทำแผนพัฒนาบริการท่องเที่ยว เพื่อรองรับการเปิดเสรีบริการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2556). การเปิดเสรีภาคการท่องเที่ยว : โอกาสความท้าทายของธุรกิจ
ท่องเที่ยวไทย (Online). สืบค้นจาก : http://www.econmju.ac.th/ econroom/?p1955.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคนอื่น ๆ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่ Marketing Management กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนงานพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย (Online). สืบค้นจาก : http://www.nesdb.go.th/Protals/o/HighLight/ImT%E2%80%A6/data_0229201112.pdf.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). แผนพัฒนาสถิติจังหวัดสงขลา (Online). สืบค้นจาก : http://www.igpthai.org/NS057/userfiles/Songkhla_Draft.pdf.
สุชาวดี ศรีสุวรรณกาฬ. (2555). แผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์พัฒนาการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : กองวิชาการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
สมแก้ว รุ่งเลิศเกรียง และคณะ (2546). คุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ในภาคใต้ : ภาคการบริการ. วารสารjournaly2book1. (Online). สืบค้นจาก : http://www.ecba.tsu.ac.th/web/th/admin/journal_file/ journaly2book1/3-Somkaew.pdf.