ความฉลาดทางอารมณ์และความเครียดของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

กมลชนก ทองเอียด
เดือนนภา ไชยพรหม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด ระดับความฉลาดทางอารมณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความเครียดของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ และแบบประเมินความเครียดสวนปรุง SPST-2015 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และหาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความเครียด ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ส่วนใหญ่มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในภาวะปกติ และมีระดับความเครียดปกติ 2) จากผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความเครียด พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กับความเครียดในทิศทางตรงกันข้าม โดยมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ (r = -0.143*) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยความฉลาดทางอารมณ์ด้านความรับผิดชอบ การตัดสินใจแก้ปัญหา และด้านความภาคภูมิใจของนักศึกษาพยาบาลมีความสัมพันธ์ทำให้เกิดความเครียดในเกณฑ์ปกติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2546). ความเครียดของคนไทย การศึกษา ระดับชาติปี 2546. กรุงเทพฯ : บียอน พับลิสซิ่ง.
กนกพร หมู่พยัคฆ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรม การปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์, 33(1), 55-65
ทวีทรัพย์ ผาโต้ ณัฐวุฒิ แดงประเสริฐ และเกษวดี ชมเชยผล. (2558) การศึกษาความ เครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ชั้นปีที่ 1 ภาคปกติ [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.it.mju.ac.th/[2558, เมษายน 20].
นิศารัตน์ นรสิงห์. (2551). ความเครียดและความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา พยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครศรีธรรมราช. โครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหา ชายแดนภาคใต้ 2551.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2543). การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับความเครียดและการจัดการความเครียดขณะฝึกปฏิบัติงานห้องคลอดของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. 15(2), 270 - 279.

ระวิวรรณ แสงฉาย. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษา
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์. (2553). ความฉลาดทางอารมณ์และความพร้อมในการปฏิบัติงาน ในบทบาทพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สุขภาพ. นนทบุรี.
สมจินดา ชมพูนุท. (2554). พลังสุขภาพจิต ความฉลาดทางอารมณ์ และความเครียด ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. วารสารการพยาบาล จิตเวชและสุขภาพจิต, 26(1). 87 - 98
สุพัตรา พุ่มพวง. (2552). ความฉลาดทางอารมณ์ ความเครียดของนักศึกษาพยาบาล และบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี :
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.
สุมาลี จูมทอง, ดุษฎี โยเหลา, งามตา วนินทานนท์ และ สธญ ภู่คง. (2552). ประสบการณ์ความเครียดและวิธีการเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาล จากการเรียนภาคปฏิบัติในห้องคลอด.วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15(1), 39 - 56.
Brewer J. & Cadman C. (2000). Emotional intelligence: enhancing student effectiveness and patient outcomes. Nurse Educator. 25(6): 264-266.
Jordan P. J. & Troth A. C. (2002). Emotional intelligence and conflict resolution in nursing. Contemporary Nurse. 13(1): 94 - 100
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 - 610.
Salovey & Mayer. (1990). Emotional intelligence. Imagination, Cognition, and Personality, 9, 185 - 211.