The Potential Development Strategy of Citizenship in Democratic System : A Case Study of Youth, Suratthani Province

Main Article Content

วิศาล ศรีมหาวโร

Abstract

การพัฒนาศักยภาพความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย : กรณีศึกษาเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาศักยภาพความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยและ 2) เพื่อค้นหายุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพความเป็นพลเมืองในระบบประชาธิปไตยของเยาวชนที่เหมาะสม   กับภูมิสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายการศึกษา เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในเขตการศึกษา 1, 2 และ 3 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)  คือนักเรียนเขตการศึกษาละ 40 คน จำนวน 3 เขต รวมเป็น 120 คน เครื่องมือการวิจัยใช้การสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย สภาพปัญหาของการพัฒนาศักยภาพความเป็นพลเมืองด้านการเคารพสิทธิผู้อื่น การเคารพความแตกต่าง และการเคารพความเสมอภาค พบว่า 1) ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึกถึงสิทธิของตนเองและผู้อื่น และยึดตนเองเป็นหลักเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ผู้นำทุกระดับส่วนใหญ่คิดว่าตนเองมีอำนาจทำงานแบบสั่งการมากกว่าการรับฟังความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ ด้านการเคารพกฎหมายส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจไม่ค่อยสนใจข้อปฏิบัติและเหตุผลของกฎหมาย เจ้าหน้าที่บางส่วนเลือกปฏิบัติทั้งตัวบุคคลและข้อกฎหมายหาช่องทางรับผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ยึดผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ผู้คนถอยห่างจากคุณธรรมจริยธรรม โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่มีความโน้มเอียงไปที่ความเป็นวัตถุนิยม บริโภคนิยม และสุขนิยมเป็นเป้าหมายชีวิต เศรษฐกิจครัวเรือน มีผลต่อการเข้าร่วมรับผิดชอบต่อส่วนรวมและการพึ่งตนเอง ยอมรับการคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติ และ 2) การค้นหาและพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพความเป็นพลเมืองพบว่า การสร้างหลักสูตรระยะสั้นการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมือง การจัดค่ายเยาวชนปลูกฝังความเป็นพลเมืองเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย การปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมสร้างสำนึกความเป็นพลเมืองของชาติ การจัดการความรู้วิถีชีวิตประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีเวทีประชาคมความรู้ เสริมสร้างพลเมืองและการศึกษาดูงานสร้างชุมชนท้องถิ่นตนแบบประชาธิปไตยธรรมาภิบาล

Article Details

Section
Research Article

References

จักษ์ พันธ์ชูเพชร. (2555). รัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี : สุขภาพองค์รวม.
จันทรา บุญญาวัตร์. (2549). องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองดีของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การวัดผลการศึกษา) มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2555). ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย หรือ Citizenship in Thailand. การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 เรื่อง ความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย.
ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา.
ประเวศ วะสี. (20 มีนาคม 2551). การเมืองภาคพลเมือง สู่อริยประชาธิปไตย. กรุงเทพธุรกิจ.
ประภัสสร ไพบูลย์ฐิติพรชัย. (2553). การศึกษาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียนพาณิชยการบางบัวทอง จังหวัดนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการภาครัฐและเอกชน) มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อพลเมือง (Civic Education) กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). พัฒนาการเมืองไทยโดย สร้างประชาธิปไตยที่ “คน”. ม.ป.ท. ราชบัณฑิตยสถาน.
มิ่งขวัญ คงเจริญ. (2555). รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องการพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจชุมชน เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองที่ดีในวิถีประชาธิปไตย. กรุงเทพ : คณะกรรมการวิจัยและพัฒนา.สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร.
รัฐศิรินทร์ วังกานนท์. (2551). ความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัด เชียงใหม่ : ศึกษาเปรียบเทียบชีวิตประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง กับ อำเภอดอยสะเก็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภางค์ จันทวานิช. (2547). การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
อนุชาติ พวงสำลี และวีรบูรณ์ วิสารทสกุล. (2541). ประชาสังคม คำ ความคิด และความหมาย.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
Blunkett, MP. D. (2004). Retrived on 3 July 2014 from htpp://www.citizen. info/pdf/commarticles.John%20Ammette.pdf.
Hua, C. W. & Wan, K. E. (2011). Civic Mindedness: Components, Correlates and Implications for the Public Service. [Online]. Retrived on 1 October 2012 from https://www.cscollege.gov.sg/ Knowledge/Pages/Civic/Mindedness/Components,-Correlates-and-Implications-for-the-Pub lic-Public-Service.aspx.
Keiffer, CH. (1984). Citizen Empowerment : A Development. London : Mac Milan.
Portney, K.E., et al. (2009). Gender Differences in Political and Civic Engagement among Young People [Online]. Retrived on 20 May 2012 from : https://ase.tufts.edu/polsci/faculty/eichenberg/ NiemiPortneyEichenbergAug26.pdf.