คุณภาพและอิทธิพลของระบบองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเสมือนจริงต่อประโยชน์สุทธิของนักท่องเที่ยวเจเนอเรชัน Z
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพระบบองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเสมือนจริง 2) ประโยชน์สุทธิจากการเยี่ยมชมระบบองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเสมือนจริงของนักท่องเที่ยวเจเนอเรชัน Z และ 3) วิเคราะห์อิทธิพลของคุณภาพระบบองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเสมือนจริงต่อประโยชน์สุทธิของนักท่องเที่ยวเจเนอเรชัน Z กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวเจเนอเรชัน Z ชาวไทย จำนวน 138 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ด้วยวิธี Enter เพื่อทดสอบการส่งผลของตัวแปรอิสระ ได้แก่ คุณภาพระบบองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเสมือนจริงที่มีต่อตัวแปรตาม คือ ประโยชน์สุทธิที่ผู้ใช้งานได้รับ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมของคุณภาพระบบองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเสมือนจริงอยู่ในระดับดี (= 3.50, S.D. = 0.607) 2) ประโยชน์สุทธิที่ได้รับจากการเยี่ยมชมระบบองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเสมือนจริงของผู้ตอบแบบสอบถามในภาพรวม ในระดับดี (= 3.94, S.D. = 0.699) และ 3) อิทธิพลของคุณภาพระบบองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเสมือนจริงรายด้านต่อประโยชน์สุทธิที่ได้รับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ (Beta = -0.287) ด้านการใช้งาน (Beta = 0.204) และด้านประสิทธิภาพการทำงาน (Beta = 0.065) ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระ]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เฉลิมศักดิ์ บุญประเสริฐ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ. [การค้นคว้าอิสระ]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ชาญชัย อรรคผาติ, และณิชกานต์ เฟื่องชูนุช. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์โดยใช้เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10. http://www.hu.ac.th/.
ฐิตวันต์ เนียมจันทร์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านระบบออนไลน์ (Facebook) ในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณฤทธิ์ จึงสมาน, นิคม ลนขุดทด, สุรเชษฐ์ วงศ์ชัยประทุม, และสุชาติ ดุมนิล. (2563). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7), 410 – 424.
ณัฏฐากานต์ วงศ์จําเริญ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประโยชน์สุทธิของระบบจองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ของคนในกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระ]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ดนุลดา จามจุรี. (2563). การออกแบบการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน Gen Z. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เดอะ คอมมอน. (2564, 29 ตุลาคม). ห้องสมุดยังมีชีวิต พิพิธภัณฑ์ยังไม่ตาย? : ความท้าทายของแหล่งเรียนรู้ยุคโควิด-19. https://www.thekommon.co/livinglibrary-museum-pandemic-covid/.
ธาดาธิเบศร์ ภูทอง, ธิดาทิพย์ ปานโรจน์, และจิโรจ โชติศิริคุณวัฒน์. (2562). ปัจจัยการยอมรับและการใช้งานแพลตฟอร์มเทคโนโลยีการทำงานร่วมกันของกลุ่มบุคคลเจเนอเรชั่นซี. วารสาร Veridian E Journal ฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(6), 360 – 387.
รัชดาพร สุธาโภชน์, อรุณี นรินทรกุล ณ อยุธยา, อัมพล ชูสนุก, และสมชาย นำประเสริฐชัย. (2560). อิทธิพลของคุณภาพระบบต่อการใช้งาน ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน และประโยชน์สุทธิของผู้ใช้งานระบบ Navis ภายในท่าเรือแหลมฉบัง. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 11(2), 145 – 162.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2549). การวิจัยการตลาด ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: บริษทั ธรรมสารจำกัด.
สมรพรรณ เรืองสวัสดิ์, และวิไลลักษณ์ รักบำรุง. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับต้นแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 6(2), 7 – 21.
สุชาติ แสนพิช. (ม.ป.ป.). “VR Siam แหล่งเรียนรู้เสมือนจริงสามมิติ”. https://vrsiam.org.
หทัยรัตน์ เกตุมณีชัยรัตน์, อาภาสินี ศรีอิ่นแก้ว, และกิตติศักดิ์ คงสวัสดิ์เจริญ. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 14(2), 48 – 59.
อนุสรา เรืองโรจน์, และอริสสา สะอาดนัก. (2564). อิทธิพลของการทำตลาดเชิงเนื้อหาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจให้ผู้บริโภคใช้บริการ แอปพลิเคชัน Viu. [การค้นคว้าอิสระ]. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. (2564). “การมุ่งเน้นลูกค้า องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. https://www.nsm.or.th/images/ita_2564/visitor_care_and_facilities.pdf.
อรสุภา จันทร์วงษ์, บุญฑวรรณ วิงวอน, และมนตรี พิริยะกุล. (2562). อิทธิพลของความไว้วางใจและประสบการณ์ของการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลคนรอบข้าง การตั้งใจใช้บริการ และการใช้งานจริง. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 8(2), 47 – 68.
Campbell, J.Y. (1999). By force of habit: a consumption-based explanation of aggregate stock market behaviour. Journal of Political Economics, 107(2), 205-251.
Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York: Academic.
Delone, W. H., & Mclean, E. R. (2003). The DeLone and McLean model of information systems success: A ten–year update. Information System, 19(4), 9–30.
Mustafa, K. & Khan, R. A. (2007). Software Testing: Concepts and Practices. English: Alpha Science.
Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory. (3rd ed.). New York, NY: McGraw-Hill.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49–60.
Torkzadeh, G., & Doll, W. J. (1999). The development of a tool for measuring the perceived impact of information technology on work. Omega, 27(3), 327 – 339.