การเข้าถึงสิทธิในงานลิขสิทธิ์กำพร้า

ผู้แต่ง

  • ตะวัน เดชภิรัตนมงคล สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ลิขสิทธิ์, ลิขสิทธิ์กำพร้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาด้านลิขสิทธิ์ รวมทั้งหลักการทั่วไป เกี่ยวกับลิขสิทธิ์และลิขสิทธิ์กำพร้า 2) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิในงานลิขสิทธิ์ กำพร้าตามความตกลงระหว่างประเทศ กฎหมายของสหราชอาณาจักร และกฎหมายไทย 3) เพื่อวิเคราะห์และ เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์กำพร้าเพื่อขจัดอุปสรรคต่อการเข้าถึงสิทธิในงานลิขสิทธิ์ กำพร้าในบริบทแห่งความตกลงระหว่างประเทศ กฎหมายของสหราชอาณาจักร และประเทศไทย และ 4) เพื่อ นำผลการวิเคราะห์มาสังเคราะห์มาหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ กำพร้าโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ งานลิขสิทธิ์กำพร้า หมายถึง งานสร้างสรรค์ที่ได้รับความคุ้มครองเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่งานดังกล่าว ไม่ปรากฏชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือระบุชื่อไว้แต่ไม่สามารถติดตามหาตัวเจ้าของลิขสิทธิ์หรือทายาทผู้ทรงสิทธิ์ ได้ ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการสืบค้นเพื่อหาตัวเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว จากผลการวิจัยพบว่า มีเพียงอนุสัญญาเบิร์น และความตกลงร่วมแห่งสหภาพยุโรป เลขที่ 28/2012 เท่านั้นที่บัญญัติรองรับสิทธิในงานลิขสิทธิ์กำพร้าโดย อนุสัญญาเบิร์นไม่ได้บัญญัติไว้โดยตรงแต่ได้กำหนดข้อสันนิษฐานให้หน่วยงานรัฐเป็นตัวแทนของผู้สร้างสรรค์ แต่ไม่มีหลักเกณฑ์การเข้าถึงสิทธิในงานดังกล่าว ขณะที่ความตกลงร่วมแห่งสหภาพยุโรปบัญญัติหลักเกณฑ์ การเข้าถึงงานลิขสิทธิ์กำพร้าไว้โดยตรงแต่มีผลใช้บังคับเฉพาะประเทศสมาชิกเท่านั้น ซึ่งสหราชอาณาจักร อนุวัติการเป็นกฎหมายภายในกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ความพยายามในการสืบค้น โดยให้ผู้อำนวยการตรวจ สอบประจำสำนักสิทธิบัตร การออกแบบ และเครื่องหมายการค้ามีอำนาจพิจารณาอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ ใช้สิทธิ กำหนดค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และกรณีที่ผู้ทรงสิทธิแสดงตนให้ปรากฏในภายหลังให้สถานะความ เป็นลิขสิทธิ์กำพร้าสิ้นสุดลงและให้มีอำนาจรับค่าตอบแทน หากไม่สามารถตกลงเรื่องค่าตอบแทนได้ให้ยื่น เรื่องต่อคณะกรรมการระงับข้อพิพาทด้านลิขสิทธิ์ ขณะที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และฉบับแก้ไข เพิ่มเติม พ.ศ. 2558 ของประเทศไทยไม่มีสภาพบังคับเกี่ยวกับงานลิขสิทธิ์กำพร้า จึงควรกำหนดมาตรการใน การสืบค้นโดยให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาทำหน้าที่ประกาศโฆษณาหาตัวผู้สร้างสรรค์และลงระบบฐานข้อมูลในกรณีที่งานดังกล่าวไม่มีบุคคลใดมาแสดงตนให้ถือว่า งานนั้นเป็นงานลิขสิทธิ์กำพร้า ส่วนเงินค่าตอบแทน นั้นให้ผู้ใช้ประโยชน์วางเงินก่อนการใช้ประโยชน์ในอัตราที่เป็นธรรมต่อสำนักงานวางทรัพย์โดยไม่ตัดสิทธิ ของบุคคลผู้แสดงตนในภายหลังในการเจรจาค่าตอบแทนและเงื่อนไขการใช้ประโยชน์รวมถึงเสนอข้อพิพาท ขึ้นสู่กระบวนการพิจารณาในศาลเกี่ยวกับเงื่อนไขการใช้ประโยชน์และจำนวนค่าตอบแทนที่ได้ดำเนินการ มาก่อนนั้น

References

Abigail Bunce. (2014). British Invasion: Importing the United Kingdom’s Orphan Works Solution to United State copyright Law. North Western University Law Review, Vol. 108, No. 1

Christian L., Castle, Amy E. Mitchell. (2009). Unhand That Orphan Evolving Orphan Works Solutions Require New Analysis. Entertainment and Sports Lawyer, Volume 27

Christopher, Springman. (2004). Reform(aliz)ing Copyright. Standford Law Review 57.

Department of Intellectual Property. (2002). Regulations, Rules and Procedures for Settlement of Intellectual Property Disputes. Office of Suppression of Piracy. Ministry of Commerce. (in Thai)

Eleonora, Rosati. (2013, 10 September). The orphan works provisions of the ERR Act: are they compatible with UK and EU laws. European Intellectual Property Review.

Hemarachata, C. (2006). Copyright Law (4th Edition). Bangkok: Nititham Publishing. (in Thai)

Jon M., Garon. (2003, 1 July). Normative Copyright: A Conceptual Framework for Copyright Philosophy. Cornell Law Review, Vol. 88, No. 5.

Josef, Kohler. (1969). Philosophy of Law. NewYork: Augustus M. Kelly.

Lionel, Bently, and Brad, Sherman. (2004). Intellectual Property Law 2 nd. New York: Oxford University Press.

Lyman Ray Patterson. (1968). Copyright in Historical Perspective. Nashville: Vanderbilt University Press.

Marcel, Planiol & George, Ripert. (1939). Treatise on The Civil Law, Volume 2 Part 2. The Louisiana State Law Institute.

Peter, Drahos. (2001). A Philosophy of Intellectual Property. Dartmouth Publishing Company Limited.

Phanaspattana, O. (2001). Copyright Law. Bangkok: Nititham Publishing. (in Thai)

Ploman, W. Edward, and Hamilton L. Clark. (1980). Copyright Intellectual Property in the Information Age. London: Routledge & Kegan.

Robert, P. Merges, Peter Seth Menell, Mark A. Lemley. (2007, 25 July). Intellectual property in the new technological age, Volume 1. Aspen Publishers/Wolters Kluwer Law & Business.

Rosco, Pond. (1959). Jurisprudence. Minn: West Publishing, Vol. 3.

Salvador M., Bezos. (2007, 27 May). International Approaches to the Orphan Works Problem. George Mason University.

Samantha Hepburn. (2006). Principles of Property Law. (3rd Edition). Routledge Cavendish.

Stef van. Gompel. (2009). Formalities in the Digital Era: An Obstracle or Opportunity?. Amster dam Law School.

Stephen, M. Steward. (1983). International Copyright and Neighbouring Rights. London: Butterworths.

Stephen, P. Laddas. (1983). The International Protection of Literary and Artistic Property, Vol. 2. New York: The Maxmillan Company.

Suphapolsiri, T. (2001). Copyright Law and Copyright Act B.E. 1994. Bangkok: Nititham Publishing. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29