สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และการรับรอง ผลิตภัณฑ์พิเศษซึ่งรับรองการผลิต ด้วยวิธีดั้งเดิมกับการคุ้มครอง ภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารไทย

ผู้แต่ง

  • เกวลิน ต่อปัญญาชาญ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาท้องถิ่น, อาหารไทย, สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์, การรับรองผลิตภัณฑ์พิเศษ, การผลิต ด้วยวิธีดั้งเดิม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์และการรับรองผลิตภัณฑ์พิเศษซึ่งรับรองการผลิตด้วยวิธีดั้งเดิมของไทยและระเบียบเลขที่ 1151/2012 ของสหภาพยุโรป 3) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบถึงความสอดคล้องและความแตกต่างใน มาตรการการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารโดยใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยกับระเบียบเลขที่ 1151/2012 ของสหภาพยุโรป และ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการบัญญัติเพิ่มเติมและการแก้ไขกฎหมาย ในการการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารไทย การวิจัยเรื่องนี้ได้การวิเคราะห์การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารไทยตามกฎหมายทรัพย์สินทาง ปัญญาพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารไทยไม่สามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และความลับทางการค้า และได้ศึกษาและวิเคราะห์การใช้กฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ของประเทศไทย และกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และการรับรองผลิตภัณฑ์พิเศษซึ่งรับรองการผลิตด้วยวิธี ดั้งเดิมของสหภาพยุโรป ตามระเบียบแห่งสภายุโรปและคณะมนตรีว่าด้วยระบบมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ การเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร เลขที่ 1151/2012 ในการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารไทยพบว่า กฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของไทยสามารถให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารได้ แต่มีข้อจำกัด กรณีที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารไม่มีความเชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์ หรือกรณีที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แพร่หลายไปหลายท้องที่จะไม่สามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ ประกอบ กับข้อจำกัดเรื่องผู้ผลิตต้องอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ และความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติ คำว่า สินค้าเกิดจาก แหล่งภูมิศาสตร์ ต้องมีวัตถุดิบและกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนภายในแหล่งภูมิศาสตร์หรือไม่ ซึ่งระเบียบ ของสหภาพยุโรปเลขที่1151/2012 ไม่ปรากฏข้อจำกัดดังกล่าว เพราะกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของ สหภาพยุโรปแบ่งได้เป็น สิ่งบ่งชี้แหล่งกำเนิดที่ได้รับความคุ้มครอง และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับความ คุ้มครอง ซึ่งการคุ้มครองลักษณะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับความคุ้มครอง วัตถุดิบหรือกระบวนการผลิต บางขั้นตอนสามารถเกิดนอกแหล่งภูมิศาสตร์ได้ ดังนั้น ข้อจำกัดเรื่องความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติ “สินค้า ที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์” ว่า วัตถุดิบหรือทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตต้องทำในแหล่งภูมิศาสตร์หรือ ไม่ จึงไม่มีปัญหาในการตีความ นอกจากนี้ระเบียบของสหภาพยุโรปเลขที่ 1151/2012 มีการคุ้มครองลักษณะ การรับรองผลิตภัณฑ์พิเศษซึ่งรับรองการผลิตด้วยวิธีดั้งเดิม ทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารแม้ไม่มีความเชื่อม โยงกับแหล่งภูมิศาสตร์จะสามารถได้รับความคุ้มครองได้ ดังนั้น จึงปราศจากข้อจำกัดเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น อาหารที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์ หรือกรณีที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แพร่หลายไปหลายท้องที่ และข้อจำกัดเรื่องผู้ผลิตต้องอยูใ่ นแหล่งภูมิศาสตร์ ผู้วิจัยจึงเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์ พุทธศักราช 2546 มาตรา 3 “สินค้าเกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์” และมีการบัญญัติกฎหมายลักษณะ การรับรองผลิตภัณฑ์พิเศษซึ่งรับรองการผลิตด้วยวิธีดั้งเดิม

References

Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights: Trips Council Regulation (EC) NO. 1151/2012 on the protection of geographical indications and designations of origin for agricultural products and foodstuffs.

Bernard O’ Connor. (2004). The Law of Geographical Indication. London: Cameron May Lid.

Bodenhausen. (2007). G. H. C. Guide to the Application of the Paris Convention for the Protection of Industrial Property. Geneva, Switzerland: WIPO Publication.

Debra Holland and Helen Pope. (2004). Eu Food Law and Policy. Kluwer Law International.

Dennis Campbell and Susan Cotter. (1995). International Intellectual Property Law European Jurisdiction. United Kingdom: John Wiley & Sons.

Dhanjee, Rajan and Laurence Boissan de Chazournes. (1990). “Trade Related Aspects of Intellectual Property Right (TRIPs): Objectives, Appearances and Basic Principle of the GATT and of Intellectual Property Convention”, Journal of World Trade. 24 (5), (October).

Elisabeth Weichselbaum, Bridget Benelam, Helena Soares Costa, Synthesis report No.6 Traditional Foods in Europe, The European Food Information Resource.

Food Safety. (2003). Information Note on Protected Designation of Origin (PDO), Protected Geo graphical Indication (PGI) & Traditional Speciality Guaranteed (TSG), Retrieved from https://www.fsai.ie/uploadedFiles/About_Us/forums/artisan/PDO_PGI_TSG_Info_
Note.pdf.

Graham Dutfield. (2001). “TRIPS-Related Aspects of Traditional Knowledge” Case Western Reserve Journal of International Law, Volume 33 Issue 2, 2001.

Jana Olšovská, Pavel Cejka, Karel Sigler, Vera Hönigová, (2014), The Phenomenon of Czech Beer: a review, Czech J. Food Sci, Vol. 32, 2014, No. 4, 309-319, p. 312.

Lisbon Agreement for the Protection of Appellation of Origin and Their International Registration of October 31, 1958 revised at Stockholm on July 14, 1967, amended on September 28, 1979. And Regulations (as in Force on January 1, 1994) World Intellectual Property Organization, GENEVA, 1994.

Madrid Agreement for the Repression of False or Deception Indication of Source on Goods of April 14, 1891, revised at Washington on June 2, 1911, at the Hague on November 6, 1925, at London on June 2, 1934, at Lisbon on October 31, 1958, and Additional Act of Stockholm of July 14, 1967. World Intellectual Property Organization, GENEVA, 1944.

Marie-Claude, Bélis-Bergouignan. (2011). Bordeaux Wines: An Archetypal Terroir Cluster?, The Open Geography Journal, 4, 73-90.

Paris Convention for the Protection of Industrial Property of 1883. Regulation (EU) No. 1151/2012 of the Eu Parliament and of the Council of 21 November 2012 on quality schemes for agricultural products and foodstuffs.

Prosciutto di Parma. Retrived from http://www.foodietaste.com/FoodPedia_detail.asp?id=410.

Simon, Lior E. (1988). “Appellation of Origin: The Continuing Controversy. Northwestern Journal of International Law of Business, page 132 Retrived from http://www.weareitaly.net/en/product/ Bitto/lombardia/Bitto.html. The Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights (TRIPS).

World Trade Organization. (2011). Guide to the TRIPS Agreement Module IV Geographical Indications [Online], available URL: https://www.wto.org/english/...e/ trips.../modules

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29