สิทธิชุมชนในการเคลื่อนไหวเพื่อ การจัดการทรัพยากรที่ดิน ป่า และนํ้า ที่ยั่งยืน : กรณีศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทาง สังคมแนวใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วง พ.ศ. 2531-2553

ผู้แต่ง

  • จุมพล หนิมพานิช สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

สิทธิชุมชน, ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่, การจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การใช้สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่ ในการเคลื่อนไหวเพื่อนำไปสู่เป้าหมายในการจัดการทรัพยากรที่ดิน ป่า และนํ้าที่ยั่งยืน 2) กลยุทธ์หลักใน การระดมทรัพยากร 3) การใช้โอกาสทางการเมืองเชิงโครงสร้าง และ 4) เครื่องมือในการต่อสู้โดยวิธีการสร้าง กรอบการจูงใจโดยใช้วาทกรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัย เชิงปริมาณ ประชากรคือ ประชาชนที่เป็นสมาชิกของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่ในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 1,000 คน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรคือ ประชาชนที่เป็นสมาชิกของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 83 คน เครื่องมือในการวิจัยใช้การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) กลยุทธ์หลักที่ใช้ในการระดมทรัพยากร 2 ลำดับแรกคือ กลยุทธ์ด้านเป้าหมาย โดยเป้าหมายที่ขบวนการกำหนดไว้ทำให้คนเห็นว่า มีโอกาส สำเร็จมากเพียงพอ และกลยุทธ์ที่ทำให้คนเห็นถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดร่วมกันของกลุ่ม หรือของขบวนการ 3) การใช้โอกาสทางการเมืองเชิงโครงสร้างเพื่อช่วยให้นักการเมืองและสังคมตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นยังอยู่ใน ระดับปานกลาง โดยขบวนการเคลื่อนไหวไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักต่อความเข้มแข็งหรือความอ่อนแอนของ รัฐบาลในขณะนั้น และ 4) การใช้เครื่องมือในการต่อสู้โดยการสร้างวาทกรรมเพื่อจูงใจให้คนเข้าร่วมขบวนการ ยังอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากแกนนำยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ต่อสิ่งที่เรียกว่าวาทกรรมในฐานะเครื่องมือ ที่ใช้ในการจูงใจคนให้มาเข้าร่วมกับขบวนการเคลื่อนไหว

References

Boome, T. (2000). Thailand Road Map. Bangkok: Saitarl Press. (in Thai)

Chareonsinoran, C. (1997). New Social Movement/New Civil Society Movement in Foreign Countries: The Survey of Status Development and Theoretical/Conceptual Implications to Democratic Development. Bangkok: Research Center, Kirk University. (in Thai)

_________. (2008). “New Politics: New Social Movements and New Discursive Development Set.” Critical Political Science. Bangkok: Thammasart University Press. (in Thai)

Kanjanapun, A. (1985). Culture and Development: Creative for Dimension. Bangkok: National Cultural Committee Offices, 22-32 (in Thai)

Klandermans, B., and Tarrow, S. (1988). “Mobilization into Social Movement Sythesizing European and American Approaches.” International Social Movement. Vol.1 JAI Press, Inc.

Lapannuth, P., Narasuju, B., and Nakum, M. (2000). “Pakmul Mobs: Problem Correspondent Movements of the Poor in Pakmul Mobs.” Supplementary Document for Anthropological Annual Conferences during, 2002, March 27-29 at Princess Maha Chakri Sirindhorn
Anthropology Centre, 138-139 (in Thai)

Piampongsand, P. (2007). “New Social Movement and Cultural Crisis in Postmodernity.” Political Science, Special Edition. (in Thai)

Pintoktang, P. (1998). Politics on Roads 99 Days Poor Assembly and Protest and Demonstration History in Thai Society. Bangkok: Tontumrup Press. (in Thai)

Pongpaijitr, P. (2000). “Social Movement Theory Whether Being Used in Thai Society or not in Political Economy: Uprising, Narong Petchprasert (Editor), Bangkok: Economic Faculty, Chulalongkorn University, 54 (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29