คุณภาพข้อสอบระดับชาติ (โอเน็ต) และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการทดสอบ

ผู้แต่ง

  • สังวรณ์ งัดกระโทก สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กาญจนา วัธนสุนทร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นลินี ณ นคร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ศศิธร ชุตินันทกุล สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ปรารถนา พลอภิชาติ สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อนุสรณ์ เกิดศรี สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ปิยนาฏ สิทธิฤทธิ์ สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ณภัทร ชัยมงคล สำนักยุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กร
  • นพรัตน์ ใบยา โรงเรียนปัว จังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

ข้อสอบระดับชาติ, คุณภาพการทดสอบ, การวิเคราะห์ข้อสอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คุณภาพข้อสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานวิชาภาษาไทย สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ระหว่างปีการศึกษา 2554 ถึงปีการศึกษา 2558 และ 2) จัดทำแนวทางการพัฒนาคุณภาพข้อสอบ ข้อมูลที่ใช้คือ ผลการตอบข้อสอบโอเน็ตของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบแบ่งออก เป็นการวิเคราะห์ด้วยแนวคิดการทดสอบแบบดั้งเดิม และการวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีการตอบข้อสอบ ส่วนการจัดทำ แนวทางการพัฒนาคุณภาพการทดสอบดำเนินการโดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ข้อสอบด้วยโมเดลการวัดแบบดั้งเดิมและการวิเคราะห์ด้วยโมเดล การตอบข้อสอบ ข้อสอบโอเน็ตส่วนมากมีค่าสถิติผ่านเกณฑ์ทั้งด้านค่าความยาก อำนาจจำแนก ผ่านเกณฑ์ โดยเฉพาะค่าการเดาจากการวิเคราะห์ดวยโมเดลการตอบข้อสอบนั้นมีค่าค่อนข้างต่ำ ส่วนค่าความเที่ยงนั้นส่วน ใหญ่อยู่ระหว่าง 0.6-0.8 ซึ่งถือว่า อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ แต่บางปีมีค่าความเที่ยงตํ่า เช่น ปี 2557 วิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเที่ยงเท่ากับ .51 ส่วนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีค่าความเที่ยง .37 ซึ่งเป็น แบบทดสอบที่มีจำนวนข้อน้อย ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า ข้อสอบโอเน็ตเป็นข้อสอบที่ค่อนข้างมีคุณภาพ สำหรับ แนวทางการพัฒนาการทดสอบให้มีคุณภาพดีขึ้นนั้นควรเพิ่มจำนวนข้อให้มากขึ้น และ 2) ในการจัดทำแนวทาง การพัฒนาคุณภาพข้อสอบควรกำหนดโครงสร้างข้อสอบให้ครอบคลุมมาตรฐานหลักสูตร และพัฒนาข้อสอบ ให้สอดคล้องกับโครงสร้างข้อสอบที่กำหนดขึ้น ควรพัฒนาแบบทดสอบแต่ละปีให้เป็นแบบทดสอบคู่ขนาน ก่อนการนำข้อสอบไปใช้ควรมีการตรวจสอบว่า ข้อสอบวัดได้ตรงตามมาตรฐานหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน โดยนำวิธีการตรวจสอบการวัดความสอดคล้องกับมาตรฐานมาใช้ และควรมีการปรับเทียบคะแนน

References

Baker, F. B., & Kim, S. H. (2004). Item Response Theory: Parameter Estimation Tech-Niques (2nd ed.). New York: Marcel Dekker.

Ebel, R. L., & Frisbie, D. A. (1986). Essentials of Educational Measurement. (4th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall

OECD. (2012). PISA 2012 Technical Report. Organization for Economic Co-operation and Development.

Webb, N. L. (1997). Research Monograph No.8. Criteria for Aligning of Expectations and Assessments in Mathematics and Science Education. Retrieved June 19th, 2012, from http://facstaff.wceruw.org/normw/WEBBMonograph6criteria.pdf.

-------------. (1999). Research Monograph No.18. Alignment of Science and Mathematics Standards and Assessments in Four States. Washington, DC: Council of Chief State School Officers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28