ภูมิปัญญาการทำเครื่องปั้นดินเผาจาก เตาหลังเต่าของชาวมอญเกาะเกร็ด

ผู้แต่ง

  • วิวัฒน์ ปัญญาตระกูล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

เตาหลังเต่า, เครื่องปั้นดินเผา, เกาะเกร็ด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภูมิปัญญาการสร้างเตาหลังเต่าของชาวมอญเกาะเกร็ด และ 2) ศึกษาลักษณะของเครื่องปั้นดินเผาที่ได้จากเตาหลังเต่า โดยมีวิธีการศึกษาทั้งการรวบรวมข้อมูลเอกสารจาก แหล่งทุติยภูมิต่าง ๆ และการรวบรวมข้อมูลภาคสนามที่ได้จากการลงพื้นที่ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำเครื่องปั้นดินเผา และผู้สืบทอดการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ผลการศึกษาพบว่า 1) เครื่องปั้นดินเผาจากเกาะเกร็ดล้วนผ่านการเผาจากเตาแบบเดิมที่มีชื่อว่า เตาหลัง เต่า ก่อสร้างด้วยอิฐมอญขนาดใหญ่ที่เผาสุกแล้วนำมาก่อขึ้นเป็นตัวเตา โดยวิธีการทำเตาหลังเต่ามีทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือ (1) การก่อเตา (2) การทำพื้นเตา (3) การก่อผนังเตา (4) การก่อหลังเตา (5) การก่อปล่อง เตา และ 2) ลักษณะของเครื่องปั้นดินเผาที่ได้จากเตาหลังเต่า มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ประกอบด้วย โอ่ง อ่าง และอ่างกะเทิน ลักษณะของเครื่องปั้นดินเผาจะมีสีส้มอ่อนเนื้อดินไม่เคลือบ สามารถกักเก็บความเย็น ได้ ทั้งนี้ เครื่องปั้นดินเผาจากเตาหลังเต่ามีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันและตกทอดเป็นมรดกมาจนปัจจุบัน

References

Alisa, R. (2013). Koh Kret: Life of a Mon Community, Ancient Klins: Comparison between The Kohkret’s cambered kilns and the Srisatchanalai’s pottery kilns. Bangkok: Department of Fine Arts.

Juajan, W. (2006). “Identity Construction of Mon Women at the Thai-Burma Border and their Interactions with the Burmese and the Thai : The case of a Mon Community in Kanchanaburi Province”. (Master’s thesis, Faculty of Sociology and Anthropology,
Graduate School, Thammasart University). (in Thai)

Nartawut, P. (2012). A Study of Ko Kret Terracotta Wisdom of Nonthaburi Province for Thai Landscape Design: Case study of Bangphlat Resort. (Master’s thesis, Faculty of Fine Arts program in Innovation Design, Graduate School, Srinakharinwirot University).
(in Thai)

Pisarn, B. (2007). Nonthaburi Earthenware. Nonthaburi: Sukhothai thammathirat Open University. (in Thai)

S. Plainoi. (2001). Story of the Mon-Raman.Second edition. Bangkok: Pimpkum Publishing. (in Thai)

Suporn, O. (1976). The Mons in Thailand: An Analysis of their Status and Role in Thai Society from the Mid Ayudhya to the Early Ratanakosin Period. (Master’s thesis, Department of History, Graduate School, Chukalongkorn Unviersity). (in Thai)

Vivat, P. (2016). A Study of the Preservation of the Cambered Kilns of Mons, Kohket Island. Bangkok: Faculty of Fine arts, Srinakharinwirot University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28