ผลการปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อการมองโลกในแง่ดีของผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้แต่ง

  • เขมมัสศิริ เนตร์มณี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การให้การปรึกษารายบุคคล, ทฤษฎีพิจารณาเหตุผล, อารมณ์และพฤติกรรม, การมองโลกในแง่ดี, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการให้การปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อการมองโลกในแง่ดีของผู้ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ. 2562 ที่มีคะแนนเฉลี่ยการมองโลกในแง่ดีอยู่ในระดับต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25  ลงมาและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 20 คน แล้วทำการสุ่มจำแนกกลุ่ม (Random Assignment) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน  จากนั้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง  (Random Treatment) เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม ติดต่อกัน 5 สัปดาห์ สัปดาห์ที่ 1 ถึง สัปดาห์ที่ 4 จำนวน 2 ครั้ง และสัปดาห์ที่ 5 จำนวน 1 ครั้ง รวมเป็น 9 ครั้ง ครั้งละ 50-60 นาที  ส่วนกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับการปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมในระหว่างทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบวัดการมองโลกในแง่ดีสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และโปรแกรมให้การปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ดำเนินการวิจัยโดยแบ่งการทดสอบเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มและทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของ นิวแมน-คูลส์

ผลการวิจัย พบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มทดลองมีคะแนนการมองโลกในแง่ดีในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มทดลองมีคะแนนการมองโลกในแง่ดีในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มทดลองมีคะแนนการมองโลกในแง่ดีระยะติดตามผลสูงกว่าระยะหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Author Biographies

ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ศศ.ด.(จิตวิทยาแขนงจิตวิทยาการปรึกษา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจําภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

เพ็ญนภา กุลนภาดล, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

กศ.ด. (จิตวิทยาการให้คำปรึกษา) รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

References

Barnjob, K., Klngpraphan, M., & Phlacitt, S. (2014). Effects of using of rational emotive behavior therapy program in conjunction with self-efficacy training affecting learning responsibilities and self-discipline of mathayomsuksa 2 students. Journal of Graduate Studies, 11(52), 55-62.

Chaisit, Y., & Phaibunrungroj, P. (2013). Stigma: Nursing Applications to Reduce Impacts for HIV / AIDS Patients.(In Thai). Journal of Nursing Division, 40(3), 114-125.

Chang, E., & Bridewell, W. (1998). Irrational beliefs, optimism, pessimism, and psychological distress: A preliminary examination of differential effects in a college population. Journal of clinical Psychology, 54(2), 137-142.

Dejpitak, C. (2007). The effects of rational emotive behavior therapy group counseling on optimisms social adjustmentor the probation office youths. Master of Science Program, Counseling Psychology, Faculty of education, Burapha University. (in Thai).

Hasan,S., Irwanto, I., Utomo, B., Ismail, R.I., Djoerban, Z., Sabarinah,S., Iwam, & Akip, A. (2014). The Effect of Rational Emotive Behavior Therapy (REBT) on Antiretroviral Therapeutic Adherence and Mental Health in Women Infected with HIV/AIDS. Acta medica Indonesiana, 46(4), 283-91.

Kunarak, P. (2017). The Effects of the Rational Emotive Behavior Therapy with Iindividual. Master of Science, Counseling Psychology, Faculty of Education, Burapha University. (in Thai).

Meeboon, D. (2009). Effects of a Group Counseling Program Based on Rational Emotive Behavior Therapy on Positive Thinking of Youths in Regional Juvenile Training Center. Master of Science, Counseling Psychology, Chaing Mai University. (in Thai).

National Health Security Office. (2018). Information Service Providing Services for People Living with HIV. Retrieved from http://www.nhso.go.th/NAPWebReport (in Thai).

Onuigbo, L.N., Eseadi, C., Ugwoke,S.C., Nwobi, A.U., Anyanwu, J.I., Okeke,F.C., Agu,P.U., Oboegbulem, A.I., Chinweuba, N.H., Agundu, U.V., Ololo, K.O., Okpoko, C., Nwankwor,P.P., Eze, U.N., & Eze,P. (2018). Effect of rational emotive behavior therapy on stress management and irrational beliefs of special education teachers in Nigerian elementary schools. Journal of Medicine, 97(37), e12191.

Scheier, M. F., Carver, C. S., & Bridges, M.W. (2001). Optimism, pessimism, and psychological well-being. In Optimism & Pessimism: Implications for Theory, Research, and Practice. (pp.189-216). Washington, DC: American Psychological Association.

Seligman, M. (1991). Learned Optimism: How to Change Your Mind and Your Life. New York: Pocket Books.

UNAIDS. (2018). AIDS BY THE NUMBERS. Retrieved from https://www.unaids.org/en

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-17