การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม 5 อ. สำหรับผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงห้าว อำเภอพาน จังหวัด เชียงราย

ผู้แต่ง

  • อัมเรศ เนตาสิทธิ์
  • ปณตนนท์ เถียรประภากุล

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม 5 อ., องค์ประกอบสุขภาพดี, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริม 5 อ. สำาหรับผู้สูงอายุองค์การบริหาร
ส่วนตำาบล (อบต.) เวียงห้าว อ.พาน จ.เชียงราย (2) นำาชุดกิจกรรมไปใช้ในการส่งเสริม 5 อ. ให้แก่ผู้สูงอายุ และ
(3) ประเมินผลการดำาเนินการส่งเสริม 5 อ.
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้สูงอายุ ในเขต อบต.เวียงห้าว อ.พาน จ.เชียงราย จำานวน 30 คนโดย
เลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้สูงอายุที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร
แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม การประชุมสนทนากลุ่ม แบบประเมินการแสดงพฤติกรรมสุขภาพตาม
แนว 5 อ. ของผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
t-test
ผลการวิจัย ได้แก่ (1) ได้ชุดกิจกรรมส่งเสริม 5 อ. สำาหรับผู้สูงอายุ ชื่อชุด “สูงวัย สุขภาพดีต้องมี 5 อ.”
ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อยทั้งหมด 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) เรื่อง “ยางยืด” 2) เรื่อง “ต้ม ผัด แกง ทอด” 3) เรื่อง
“ประกอบร่าง” 4) เรื่อง “ลมพัด” 5) เรื่อง “อ่านจากอึ” (2) หลังจากการนำาชุดกิจกรรมที่พัฒนาไปจัดกิจกรรมส่ง
เสริม 5 อ. สำาหรับผู้สูงอายุพบว่า พฤติกรรมการแสดงออกของผู้สูงอายุเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม
และ (3) การประเมินผลการดำาเนินงานพบว่า ในภาพรวมผู้สูงอายุมีการแสดงพฤติกรรมสุขภาพตามแนว 5 อ.
ในทางที่ดีขึ้น โดยก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมมีการแสดงพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง หลังการเข้าร่วมกิจกรรม
มีการแสดงพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการแสดงพฤติกรรมสุขภาพตามแนว 5 อ. ของ
ผู้สูงอายุทุกด้านก่อนและหลังการร่วมกิจกรรมพบว่า ค่าเฉลี่ยรวมหลังการร่วมกิจกรรมส่งเสริม 5 อ. มีความ
แตกต่างกับค่าเฉลี่ยรวมก่อนการร่วมกิจกรรมส่งเสริม 5 อ. อย่างมีนัยสำาคัญที่ 0.05 สรุปได้ว่า การร่วมกิจกรรม
ส่งเสริม 5 อ. สูงกว่าก่อนการร่วมกิจกรรมส่งเสริม 5 อ.

References

Bunphadung, S. (2011). Developing the Life Quality of the Elderly by Applying Sufficiency Economy-Based Schooling (Phase I). Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai)

Bureau of Non Communicable Diseases. (2017). The Study of Body of Knowledge and Activity Forms of Non-Communicable Diseases (Diabetes, Hypertension, Cardiovascular Disease). Retrieved October 09, 2017, from https://www.moph.go.th. (in Thai)

Changmai, S. (2001). Effects of Reality Therapy Based Guidance and Group Counseling on Assertive Behaviors of Hill Tribe Students. (Master’s thesis), Faculty of Education in Guidance Psychology,Burapha University. (in Thai)

Department of Health, Ministry of Public Health. (2017). 5 Healthy Habits for the Elderly to Maintain Good Health. Retrieved October 08, 2017, from https://www.anamai.moph.go.th. (in Thai)

Duangkaew, T., & Detudom, H. (2007). The Elderly’s Healthy Behaviors in Prongmadua,Muang, Nakorn Pathom. Nakhon Pathom: Nakhon Pathom Rajabhat University. (in Thai)

National Statistical Office. (2014). The Survey of the Elderly in Thailand in 2012. Bangkok: Text and Journal Publication. (in Thai)

Pender, N. J. (1987). Health promotion in nursing practice. New York: Applenton Century Crofts.

Pender, N. J., Walker, S.N., Sechrist, K.R., & Frank-Stromborg, F.M. (1990). Prediction health promoting lifestyles in workplace. Nursing Research, 39(6), 326-332.

Sinsalchon Aunprom-me. (2013). Milestones in Health Promotion. Nonthaburi: Tanapress. (in Thai)

Skinner, B. F. (1953). Science and Human Behavior. New York: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29