การเปรียบเทียบคะแนนสอบตามความพร้อมของนักศึกษารายบุคคลด้วยคอมพิวเตอร์ Walk-In Exam กับคะแนนสอบปลายภาค ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
คำสำคัญ:
การสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์, คะแนนเฉลี่ย, ขนาดอิทธิพล, การสอบถามความ พร้อมของนักศึกษารายบุคคลด้วยคอมพิวเตอร์บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบจำนวนนักศึกษาที่สอบผ่านในการสอบปลายภาค ระหว่างกลุ่มที่ผ่านการสอบ Walk-in Exam กับกลุ่มที่สอบปลายภาคเพียงอย่างเดียว 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างคะแนนสอบ Walk-in Exam กับคะแนนสอบปลายภาค ของกลุ่มผู้ที่ผ่านการสอบ Walk-in Exam งานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จำนวน 8 ภาคการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลนักศึกษาที่เข้าสอบปลายภาคของกลุ่มที่ผ่านการสอบ Walk-in Exam จำนวน 9,374 คน/ชุด และข้อมูลนักศึกษาที่เข้าสอบปลายภาคเพียงอย่างเดียว จำนวน 312,152 คน/ชุด เครื่องมือที่ในการวิจัย คือ แบบบันทึกรายการคะแนนสอบของนักศึกษาที่ผ่านการสอบ Walk-in Exam และเข้าสอบปลายภาค จำนวน 9,374 ชุด และแบบบันทึกรายการคะแนนสอบของนักศึกษาที่เข้าสอบปลายภาคเพียงอย่างเดียว จำนวน 312,152 ชุด
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) ข้อสอบ Walk-in Exam มีค่าความยากเฉลี่ยของข้อสอบมากกว่าข้อสอบปลายภาค ทุกชุดวิชา และเกือบทุกภาคการศึกษา จำนวน 50 ชุดวิชา นั่นหมายความว่าข้อสอบปลายภาคยากกว่าข้อสอบ Walk-in Exam 2) นักศึกษาที่ผ่านการสอบ Walk-in Exam สามารถสอบผ่านได้มากกว่านักศึกษาที่เข้าสอบปลายภาคเพียงอย่างเดียวจำนวน 41 ชุดวิชา (ร้อยละ 82 ) และมีจำนวนผู้สอบผ่านน้อยกว่านักศึกษาที่เข้าสอบปลายภาคเพียงอย่างเดียว จำนวน 9 ชุด (ร้อยละ 18) และ 3) นักศึกษาที่ผ่านการสอบ Walk-in Exam เมื่อไปเข้าสอบปลายภาคสามารถสอบได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการสอบ Walk-in Exam โดยมีขนาดอิทธิพล (Effect Size) มีค่าเป็นบวก 40 ชุดวิชา (ร้อยละ 80) และคะแนนเฉลี่ยจากการสอบปลายภาคมีค่าน้อยกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการสอบ Walk-in Exam ขนาดอิทธิพลมีค่าเป็นลบ 10 ชุดวิชา (ร้อยละ 20)
คำสำคัญ: การสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ค่าความยากเฉลี่ยของข้อสอบ ขนาดอิทธิพล คะแนนเฉลี่ย
References
Chirawatkul, A. (2013). “Using effect size to present the different of education intervention.”Journal of Health Science Health Technical Office, Ministry of Health, 22(6), (November–December). (in Thai)
Juimoungsri, S., & Wijitwanna, S. (2019). Factors Affecting Test Scores of STOU Students Who Take Walk-in Examination via Computer. (in Thai)
Kerdpramot, P. (2001). The results of formative testing through internet conducted on MattayomSuksa 3 students. Master of Education Degree in Educational Measurement. Srinakharinwirot University. (in Thai)
Khaosaard, P. (1998). A development of the computerized formative testing process in English subject with diagnostic feedback. Degree of Master of Education in Educational Measurement and Evaluation. Department of Educational Research. Chulalongkorn University. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
ห้ามนำข้อความทั้งหมด หรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร