This is an outdated version published on 2022-05-02. Read the most recent version.

ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับการปรับตัวในสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ผู้แต่ง

  • อัจฉราวรรณ จันทร์เพ็ญศรี วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การเห็นคุณค่าในตนเอง การปรับตัวในสังคม

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร    2) เพื่อศึกษาลักษณะการปรับตัวในสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเห็นคุณค่าในตนเองกับการปรับตัวในสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จำนวน 402 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลครอบครัว แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองที่ปรับปรุงจาก The Coopersmith Self-Esteem Inventories (CSEI) และแบบวัดการปรับตัวในสังคมที่ปรับปรุงจาก The Social Adjustment Scale – Self Report (SAS-SR) โดยศิริวรรณ ทวีวัฒนปรีชา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independence t-test, One-way ANOVA, Pearson Correlation และ Multiple Regression Analysis

            ผลการศึกษาพบว่าคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 29.49 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 7.31 เมื่อใช้เกณฑ์เปอร์เซนไทล์เป็นตัวกำหนดระดับคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเอง   พบว่า มีนักศึกษาร้อยละ 7.25 ที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองในระดับดีถึงดีมาก ปัจจัยที่มีผลส่งเสริมคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.05  ได้แก่ เพศ เกรดเฉลี่ย ความสัมพันธ์ในครอบครัว และสถานภาพของบิดามารดา ผลการศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวในสังคมพบว่า คะแนนการปรับตัวในสังคมของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 35.82 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 8.02 เมื่อใช้เกณฑ์เปอร์เซนไทล์ ตัวกำหนดระดับการปรับตัวในสังคมพบว่า มีนักศึกษา ร้อยละ 53.62 ที่มีการปรับตัวในสังคมระดับดีถึงดีมาก ปัจจัยที่มีผลส่งเสริมการปรับตัวในสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.05 ได้แก่ สัมพันธภาพของครอบครัวที่ขัดแย้งกัน และพบว่าความสัมพันธ์กันระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับการปรับตัวสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.01 คือ  ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นข้อมูลแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหาแนวทางส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองและป้องกันปัญหาการปรับตัวในสังคมของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้

References

Atwater. E. (1979). Psychology of Adjustment: Personal Growth in a Changing World. New Jersey: Prentice-Hall.

Bandura. A. (1977). A Social Learning Theory. N.J. Englewood Cliffs Prentice Hall.

Branden. N. (1969). The Psychology of Self-esteem. Los Angeles: Nash Publishing.

Branden. N. (1994). The Six Pillars of Self-esteem. New York. Bantam Book Inc.

Branden, N. (1981). The psychology of self-esteem. (15th ed.). New York: Bantam Books Inc.

Coopersmith. S. (1981). SEI: Self-esteem Inventories. California: Psychologist Press Inc.

Coopersmith. S. (1967). The Antecedents of Self-esteem Inventories. San Francisco: Freeman.

Jersild. A. T. (1965). Social and Individual Origins of the Self. In the Self: In Growth..Teaching and Learning. Edited by Hamacheck Don F. Preentice-Hall. Inc. Englewood Cliffs N.J.

Lonhlam S. (2007). Relations Among Trait Anxiety, Optimism, and Self-esteem of University Students. Thesis of Master Degree of Arts Program in Department Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University.

McCandles. B.R. (1967). Children Behavior and Development. 2nded. New York: Holt Rinehart and Winston. Inc.

Norem-Hebeisen. A.A. (1976). A Multidimentsional Construct of Self-esteem. Journal ofEducational Psychology. 68 (5) 559-565.

Roghanchi. M.. et al. (2013). The effect of integrating rational emotive behavior therapy and art therapy on self-esteem and resilience. The Arts in Psychotherapy 40 179–184. The Arts in Psychotherapy. Volume 40. Issue 2. April 2013. Pages 179–184.

Ruangpermpoon K., Rongmuang S. and Ninachan P. (2011). Social adjustment characteristics of nursing students. Journal of Ramathibodi Nursing Message Vol. 17 No. 3 (Oct.-Dec. 2011) p. 478-492.

Sinlarat P. (2015). Higher education and Thai society. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Sirathatnararojana, T. (2017). Enhancing Self-esteem and Resilience of Undergraduate Students Through Intergrative Group Counseling. Ph.D. thesis of Ph.D. Research and Development on Human Potentials: Psychology of Human Development and Counseling Concentration Area. Department of Guidance and Educational psychology, Faculty of Education, Sinakharinwirot University.

Thawiwattanapreecha S. (2006). Self-Esteem And the relationship between self-esteem With the adjustment in the student's society Faculty of Pharmacy Chulalongkorn University. Department of Mental Health Department of Psychiatry Faculty of Medicine Chulalongkorn University.

Wong-Asa C. (2013). Self-Esteem. Bangkok: Mahidol University.

Weirangkon J. (2010). "Summary of the issue of the seminar on the direction of student development under crisis." Analysis of learning outcomes. Learning Outcome. On September 10-11, 2010 at Uthong Inn Hotel. Phra Nakhon Si Ayutthaya Province (Document not published)

Yamane T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rded.). New York.Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-12 — Updated on 2022-05-02

Versions