This is an outdated version published on 2021-09-12. Read the most recent version.

ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับการปรับตัวในสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ผู้แต่ง

  • อัจฉราวรรณ จันทร์เพ็ญศรี วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การเห็นคุณค่าในตนเอง การปรับตัวในสังคม

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร    2) เพื่อศึกษาลักษณะการปรับตัวในสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเห็นคุณค่าในตนเองกับการปรับตัวในสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จำนวน 402 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลครอบครัว แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองที่ปรับปรุงจาก The Coopersmith Self-Esteem Inventories (CSEI) และแบบวัดการปรับตัวในสังคมที่ปรับปรุงจาก The Social Adjustment Scale – Self Report (SAS-SR) โดยศิริวรรณ ทวีวัฒนปรีชา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independence t-test, One-way ANOVA, Pearson Correlation และ Multiple Regression Analysis

            ผลการศึกษาพบว่าคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 29.49 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 7.31 เมื่อใช้เกณฑ์เปอร์เซนไทล์เป็นตัวกำหนดระดับคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเอง   พบว่า มีนักศึกษาร้อยละ 7.25 ที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองในระดับดีถึงดีมาก ปัจจัยที่มีผลส่งเสริมคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.05  ได้แก่ เพศ เกรดเฉลี่ย ความสัมพันธ์ในครอบครัว และสถานภาพของบิดามารดา ผลการศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวในสังคมพบว่า คะแนนการปรับตัวในสังคมของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 35.82 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 8.02 เมื่อใช้เกณฑ์เปอร์เซนไทล์ ตัวกำหนดระดับการปรับตัวในสังคมพบว่า มีนักศึกษา ร้อยละ 53.62 ที่มีการปรับตัวในสังคมระดับดีถึงดีมาก ปัจจัยที่มีผลส่งเสริมการปรับตัวในสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.05 ได้แก่ สัมพันธภาพของครอบครัวที่ขัดแย้งกัน และพบว่าความสัมพันธ์กันระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับการปรับตัวสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.01 คือ  ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นข้อมูลแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหาแนวทางส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองและป้องกันปัญหาการปรับตัวในสังคมของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้

References

จิรวัฒน์ วีรังกร. (2553). “สรุปประเด็นการประชุมสัมมนาทิศทางการพัฒนานิสิตนักศึกษาภายใต้ภาวะวิกฤต” เอกสารในการสัมมนาเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านกิจการนิสิตนักศึกษาเรื่อง การวิเคราะห์ผลลัพท์การเรียนรู้ Learning Outcome. เมื่อวันที่ 10-11 กันยายน 2553 ณ โรงแรมอู่ทองอินน์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่)
ดรุณี ชูประยูร. (2547). การน้อมนำสาระสำคัญของหลักธรรมในพระไตรปิฎกเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนานิสิตนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ วงษ์อาษา. (2556). การเห็นคุณค่าในตนเอง. [ออนไลน์] Available: http://ns2.ph.mahidol.ac.th/phklb/detail/index/909 [2562, มีนาคม 30]
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ศิริวรรณ ทวีวัฒนปรีชา. (2549). การเห็นคุณค่าในตนเอง และความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเอง กับการปรับตัวในสังคมของนิสิต คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สาขาวิชาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Atwater. E. (1979). Psychology of Adjustment: Personal Growth in a Changing World. New Jersey: Prentice-Hall.
Bandura. A. (1977). A Social Learning Theory. N.J. Englewood Cliffs Prentice Hall.
Branden. N. (1969). The Psychology of Self-esteem. Los Angeles: Nash Publishing.
Branden. N. (1994). The Six Pillars of Self-esteem. New York. Bantam Book Inc.
Branden, N. (1981). The psychology of self-esteem. (15th ed.). New York: Bantam Books Inc.
Coopersmith. S. (1967). The Antecedents of Self-esteem Inventories. San Francisco. Freeman.
Coopersmith. S. (1981). SEI: Self-esteem Inventories. California: Psychologist Press Inc.
Roghanchi. M.. et al. (2013). The effect of integrating rational emotive behavior therapy and art therapy on self-esteem and resilience. The Arts in Psychotherapy 40 179–184./ The Arts in Psychotherapy Volume 40. Issue 2. April 2013. Pages 179–184.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-12

Versions