This is an outdated version published on 2021-08-01. Read the most recent version.

นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด ศาสตราธนูเวท

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ฤทธิ์ เชาว์กรรม คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์สร้างสรรค์, ธนู, ธนูเวท

บทคัดย่อ

          การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ สร้างสรรค์นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด ศาสตราธนูเวท เพื่ออนุรักษ์การใช้ธนูไทยโดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลทางเอกสารวิชาการนำมาวิเคราะห์สู่การสร้างสรรค์การแสดง ผลการศึกษาพบว่า ธนูเป็นอาวุธที่มีความสำคัญมาตั้งแต่ครั้งโบราณ วิชาธนูปรากฏในการฝึกฝนเพื่อใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้และการใช้ธนูเป็นอาวุธในนาฏกรรม นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด ศาสตราธนูเวท แบ่งการแสดงออกเป็น 3 ช่วง ประกอบด้วย ชวงที่ 1 ธนูศาสตร สื่อถึง ศาสตรในการยิงธนู การฝกฝนธนูในลักษณะตาง ๆ ชวงที่ 2 ธนูศิลป สื่อถึง สุนทรียะในการใชธนู โดยใชลีลา   ทารําในนาฏกรรมไทย ชวงที่ 3 ธนูศึก สื่อถึง กระบวนการใชธนูในการออกศึกสงครามและนําพาชัยชนะมาสูผูออกรบ โดยมีกระบวนการสร้างสรรค์งาน 7 ขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การสร้างแนวคิดของการแสดง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างสรรค์ทำนองเพลง ดนตรีประกอบการแสดง ขั้นตอนที่ 3 การคัดเลือกผู้แสดง ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบกระบวนท่ารำ ขั้นตอนที่ 5 การออกแบบประดิษฐ์เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ ขั้นตอนที่ 6 นำเสนองานสร้างสรรค์ต่อผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนที่ 7 เผยแพร่การแสดงสู่สาธารณชน นาฏศิลป์สรางสรรค์ ชุด ศาสตราธนูเวท สร้างสรรค์ตามแนวคิดนาฏยประดิษฐ์ที่สะท้อนแนวคิดผ่านการแสดงที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการตระหนักรู้และอนุรักษ์ธนูไทยได้เป็นอย่างดี การนำเสนอการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด ศาสตราธนูเวท เปรียบเสมือนการเพิ่มมูลค่าให้กับทุนทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติและยังนับว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านนาฏดุริยางคศิลป์ได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมอีกด้วย

References

Kleunsuwan, B. (1970). Prawat thanu[History of Archery]. Retrieved December 12, 2020 , from https://www.posttoday.com/life/healthy/376096/(inthai)

Office of Performing Arts, The Fine Arts Departments. (2016). Phra ram tam kwang[Rama huntingthe deer]. Retrieved December 12, 2020, from https://www.youtube.com/watch?v=qZ3X9npIud8/(inthai)

Office of Performing Arts, The Fine Arts Departments. (2016). Yok Rop[Going to war]. Retrieved December 12, 2020, from https://gnews.apps.go.th/news?news=1215(inthai)

Pasurichandaeng, K. (2015). Kansang san nattaya sin phan phatthanakan dan pratyanai ruang phramahachanok[The dance creation via philosophical development of Mahajanaka] (Doctoral thesis, Chulalongkorn University).(inthai)

Ramayana. (2020). Phra ram yok son[The lifting of the Rama’s bow]. Retrieved December 12,2020, from http:// baanjompra.com/(inthai)

Thamraram. (2020). Mæbot yai[The grand master]. Retrieved December 12, 2020, from http://valuablebook2.tkpark.or.th/(inthai)

Thai-Chinese Strategic Research Center. (2020.) Næokhit khong Chin nai kanʻanurak borannasathan borannawatthu moradok thang watthanatham læ thammachat[Chinese concept of preserving ancient remains, antiquities, cultural and natural heritage.] Retrieved December 12, 2020, from http://www.vijaichina.com/articles/1867(inthai)

Thai Encyclopedia Project Foundation for Youth By the royal wishes of His Majesty King Bhumibol Adulyadej the Great (2020). (2020). Kanʻanurak borannasathan læ borannawatthu[Conservation of ancient remains and antiquities]. Retrieved December 12, 2020, from http://saranukromthai.or.th/(inthai)

Wikipedia. (2020). Thanu[Bow]. Retrieved December 12, 2020, from https://th.wikipedia.org/wiki(inthai)

Vithidkul, J. (2015). Sat hæng kan yut duai thanunai khamphithanurawet læ mahapharata[Archeryindhanurveda and mahābhārata] (Doctoral thesis, Chulalongkorn University).(inthai)

Wirunrak, S. (2014). Lakkan sadæng nattaya sin parithat[Principles of Dramatic Arts]. Bangkok, Chulalongkorn University Press. (inthai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-01

Versions