การสร้างสรรค์หนังสือภาพ เรื่อง “โขน : มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ” สำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
คำสำคัญ:
หนังสือภาพ, โขน, เยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์หนังสือภาพ เรื่อง “โขน : มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ” สำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาและสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสำรวจข้อมูลภาคสนาม โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และนำข้อมูลที่ได้มาสร้างสรรค์เป็นสื่อนวัตกรรมในรูปแบบของหนังสือภาพ เรื่อง “โขน : มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ” สำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
ผลจากการวิจัย พบว่า การสร้างสรรค์หนังสือภาพ เรื่อง “โขน : มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ” สำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดแนวความคิดและรูปแบบ เป็นการสร้างหนังสือที่มีเนื้อหาเพื่อส่งเสริมความรู้ในเรื่อง “โขน” ในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือภาพที่มีการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบของวีดิทัศน์เข้ามาผสมผสานด้วยการใช้งานผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ด 2) การกำหนดและการนำเสนอเนื้อหา มีการกำหนดเนื้อหาสาระทางวิชาการ ประกอบด้วย 8 หัวข้อ ได้แก่ โขนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ การกำเนิดโขน ประเภทการแสดงโขน การแสดงโขนในยุคปัจจุบัน ตัวละครในการแสดงโขน ลวดลายของเครื่องแต่งกายในการแสดงโขน อาวุธในการแสดงโขน และเครื่องโรงประกอบการแสดงโขน โดยนำเสนอเนื้อหาผ่านข้อความ ภาพและสัญลักษณ์ และวีดิทัศน์บรรยายภาษามือ 3) การออกแบบองค์ประกอบหนังสือใช้แนวคิดเชิงอนุรักษ์ในการนำเสนอภาพและข้อความเกี่ยวกับการแสดงโขนในเรื่องลักษณะเด่นทางกายภาพให้มีความถูกต้องตามรูปแบบและจารีตของการแสดงโขน ฃร่วมกับแนวคิดความงามทางด้านทัศนศิลป์เพื่อสร้างความสนใจและจูงใจผู้อ่าน 4) การสร้างสรรค์วีดิทัศน์บรรยายภาษามือ เพื่อบรรยายเนื้อหาประกอบการอ่าน โดยจัดทำเป็นวีดิทัศน์สั้น ๆ เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาและเพิ่มความเข้าใจได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น
References
Mingsiritham, K, and Chanyawudhiwan G. (2016). A Development of Smart Books to Assist Communication for Hearing-Impaired Students. Sukhothai Thammathirat Open University. (Scholarship from the annual research grants of 2016: The Development of media for Distance Education)
Niyomthum, S. (2007). Visual Art for Special Education. (1st Ed). Bangkok: Wankaew Printing Limited Partnership
Obusu, G.K.., et al. (2013). The Use of Visual Art Forms in Teaching and Learning In Schools For The Deaf In Ghana: Investigating The Practice. International Journal of Innovative Research and Development, Vol 2 Issue 5, 408-422.
Saksiripol, D. (2010). The development of reading and spelling skills for the students with hearing impairments in Pratom Suksa III through mind maps and exercises with sign language. Department of Special Education, Faculty of Education, Srinakharinwirot University. (Scholarship from the Faculty of Education, Srinakharinwirot University)
Thirajit, W. (2002). Education for children with special needs. (3rd Ed). Bangkok: Chulalongkorn University Press
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-05-26 (2)
- 2022-11-01 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
ห้ามนำข้อความทั้งหมด หรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร