การประเมินความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อรับรางวัลพระราชทาน
คำสำคัญ:
ความต้องการจำเป็น, รางวัลพระราชทาน, การบริหารจัดการ, สถานศึกษาขนาดเล็กบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อรับรางวัลพระราชทาน และ 2) ศึกษาดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อรับรางวัลพระราชทาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดเล็กของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยปรับปรุงมาจากแบบวัดพฤติกรรมบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อรับรางวัลพระราชทาน เป็นแบบมาตรประมาณค่า 6 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ PNImodified
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อรับรางวัลพระราชทานภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อรับรางวัลพระราชทานภาพรวมทุกด้าน พบว่า การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNIModified = 0.146) รองลงมา คือ การจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศพื้นฐาน (PNIModified = 0.144) และการพัฒนาเทคโนโลยีและการสื่อสาร (PNIModified = 0.133) ตามลำดับ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-05-26 (2)
- 2022-11-01 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
ห้ามนำข้อความทั้งหมด หรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร