การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครพนม เขต 1

ผู้แต่ง

  • ธนกฤต อินธริชัย โรงเรียนบ้านวังยาง
  • วัลนิกา ฉลากบาง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
  • เอกลักษณ์ เพียสา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
  • ธีรนันท์ โมธรรม โรงเรียนบ้านผึ้งวิทยาคม

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, สมรรถนะ, สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู การวิจัยมีทั้งหมด 3 ระยะ คือระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู ระยะที่ 2 การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในระยะนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนและครู จำนวน 331 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบตอบสนองคู่ ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม สภาพที่เป็นจริงเท่ากับ 0.98 และสภาพที่มุ่งหวังเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน PNImodified ระยะที่ 3 การศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู

               ผลการวิจัยพบว่า 1.สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ การสร้างและพัฒนาหลักสูตร 2) การออกแบบการเรียนรู้ 3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ และ 5) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2. สภาพที่เป็นจริงของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 3.93 ) และ สภาพที่มุ่งหวังของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.70 ) 3.ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู มี 2 ด้านคือ ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร (PNImodified = 0.238) และ ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ (PNImodified = 0.208) 4.แนวทางพัฒนาสมรรถด้านด้านการจัดการเรียนรู้ของครูมีจำนวน 2 ด้าน คือ ด้วยด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร และด้านการใช้และพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้

References

Boonchai, B. (2020). Learning Management Competency to Develop 21st Century Learners of Elementary School Teachers. Saint John’s Journal, 23(32), 240-258. (in Thai)

British Council . (2011). Teaching Skills Inspiring Teaching Excellence. Retrieved from https://www.britishcouncil.vn/sites/default/files/teaching-skills-global-standard 211112.pdf

Intraprawat, P. (2021). 4 Teacher Competencies That Make The Greatest Impact on Students’learning. Srinakharinwirot Acedemic Journal of Education. 22(1), 180-195. (in thai)

Jinda, A. (2016). The problems and guidelines support of use Information and Communication Technology for Educational ofSchools in Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 2. Veridian E-Journal,Silpakorn University. 9(1), 403. (in Thai)

Kongted, Ph. (2017). The model of Internal Supervision That Affects The Teacher learning Management Competencies Under Phitsanulok Primary Education Service Office 1. Thesis M.Ed. Phitsanulok : Naresuan University. (in Thai)

Nuansri, M., Pantuworakul, K., Jariyapan, N., Onyon, N., Boontham, S., Somsamra, S.and Suttiwan, W. (2021). A Needs Assessment to Develop the Instructional Management of Students of Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage. Journal of Roi Kaensarn Academi. 2(2), 34 -51. (in Thai)

Prasertphon, Ch. (2015). A Model or Developing Learning Management Competency of New teachers at general education private schools. Thesis Ph.D. Phitsanulok : Naresuan University. (in Thai)

Sangtong, A. (2021). The School Curriculum Development of Watjntrawart (Sukprasarnrat) School. Independent Study M.Ed. Nakhon Pathom : Silpakorn University. (in Thai)

Siladech, Ch. (2017). The development Teacher’s Competencies and The Indicators in Learning Management of World-class Standard School. Journal of Kanchanaburi Rajabhat University. 6(2) , 79-88. (in Thai)

Thuannow, A. (2018). The Teacher's Role and Instruction in 21st Century. Graduate School Conference 2018 . 30 November 2018 . Bangkok : Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai)

Urwongse, K.,Phuangsomjit, Ch.,Nongyao, U.,Chongcharoen.K. and Yawichai, Th. (2021)Study Report Model Learning Management for Students in Ordinary Educational Effects Form COVID-19. Bangkok : Office of The Educational Council. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-24