การเสริมสร้างความสำเร็จในชีวิตสมรสด้วยการปรึกษาคู่สมรส

ผู้แต่ง

  • วรัญญา คงปรีชา -
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การปรึกษาคู่สมรส, ความสำเร็จในชีวิตสมรส, คู่สมรส

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างความสำเร็จในชีวิตสมรสด้วยการปรึกษาคู่สมรส 2. ศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความสำเร็จในชีวิตสมรสด้วยการปรึกษาคู่สมรส  กลุ่มตัวอย่างคือ คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และใช้ชีวิตสมรสร่วมกันมากกว่า 1 ปี ขึ้นไป  มีสัญชาติไทย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 20 คู่ ทำการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง  และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คู่ ซึ่งมีความสมัครใจเข้าร่วมการทดลองและมีค่าเฉลี่ยคะแนนจากมาตรวัดความสำเร็จในชีวิตสมรสต่ำกว่าเกณฑ์คะแนนปกติ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดความสำเร็จในชีวิตสมรส และโปรแกรมการเสริมสร้างความสำเร็จในชีวิตสมรส  สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1.โปรแกรมการเสริมสร้างความสำเร็จในชีวิตสมรสดำเนินการให้การปรึกษาจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที 2.ศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความสำเร็จในชีวิตสมรสของคู่สมรส พบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความสำเร็จในชีวิตสมรสด้วยการปรึกษาคู่สมรส มีคะแนนความสำเร็จในชีวิตสมรสระยะหลังทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความสำเร็จในชีวิตด้วยการปรึกษาคู่สมรส มีคะแนนความสำเร็จในชีวิตสมรสในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05

References

Berscheid, E. S., & Regan, P. C. (2016). The psychology of interpersonal relationships. London: Psychology.

Department of Mental health. (2003). Marriage Guide. Bangkok. Department of Mental health. (in Thai)

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods, 39(2), 175-91.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Kannika Mesawad. (2019). Counseling Service of Spouse in Single Family. Journal of Buddhist Psychology, 4(2), 36-49 (in Thai)

Karney, B. R., & Crown, J. S. (2007). Families under stress: An assessment of data, theory, and research on marriage and divorce in the military. Santa Monica: Rand Corporation.

Kimeto, J. (2016). The effect of social media on marital success: a case of lang’ ata constituency, Nairobi county, kenya. Pan Africa Christian University.

Monthira Charupheng. (2015). Family study and Family counseling. Bangkok: DANEX Intercorporation. (in Thai)

Orathinkal, J., & Vansteenwegen, A. (2006). The effect of forgiveness on marital satisfaction in relation to marital stability. Contemporary Family Therapy, 28, 251-260.

Pennapha Koolnaphadol. (2020). Family counseling (3nd ed.). Bangkok: Papermate. (in Thai)

Rapeepong Youngwarasawasd. (2015). THE INTEGRATIVE FAMILY COUNSELING MODEL FOR ENHANCING COUPLE MARITAL SUCCESS. Journal of Education Research, Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 10(1), 130-145. (in Thai)

The Bureau Of Registration Administration. (2022). Statistics report on the number of divorce registrations. Form https://stat.bora.dopa.go.th/stat/GENSTAT/STATFAM/#/marry

Umaporn Trangkasombat. (2001). Psychotherapy and family counseling. 5th printing. Bangkok: Family Research and Development Center. (in Thai)

Umaporn Trangkasombat. (2002). Marital psychology and couples therapy. Bangkok: Family Research and Development Center. In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-24