การส่งเสริมการผลิตข้าวโพดหวานของเกษตรกรในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ไกรวิชญ์ พูลทอง -
  • นารีรัตน์ สีระสาร
  • บำเพ็ญ เขียวหวาน

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการผลิต, การผลิตข้าวโพดหวาน , ข้าวโพดหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคม และเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตข้าวโพดหวาน และ3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหวาน

               ประชากรที่ศึกษา เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดหวานในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปี 2565/2566 จำนวน 349 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 186 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย

               ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45.00 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีประสบการณ์ผลิตข้าวโพดหวานเฉลี่ย 11.10 ปี มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานเฉลี่ย 3.88 ไร่ มีต้นทุนการผลิตข้าวโพดหวานเฉลี่ย 4,552.15 บาทต่อไร่ มีรายได้จากการผลิตข้าวโพดหวานเฉลี่ย 11,680.10 บาทต่อไร่ 2) เกษตรกรใช้แหล่งน้ำบาดาลในการผลิตข้าวโพดหวาน มีสภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ใช้พันธุ์ลูกผสมทางเอกชน ไม่มีการเก็บตัวอย่างดินและการปรับปรุงบำรุงดิน อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 1.36 กิโลกรัมต่อไร่ มีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช 3) เกษตรมีปัญหาในการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดหวานในระดับมากที่สุด ด้านการขาดความรู้ในการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัยและข้อเสนอแนะในระดับมากที่สุด ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย

คำสำคัญ แนวทางการส่งเสริม / สภาพการผลิตข้าวโพดหวาน / ข้าวโพดหวาน

References

Boonchuay Khammee. 2563. Promoting the use of animal feed corn cultivation technology among farmers in Mae Tha District, Lampang Province. Master of Agriculture Thesis. Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi.

Department of Agriculture. 2556. Sweet Corn Growing Guide. Retrieved February, 8. 2022 from https://www.doa.go.th/hort/wpcontent/uploads/2020/01.

Department of Agricultural Extension. 2565. Central Farmer Registration Database System, Department of Agricultural Extension. Retrieved October, 20. 2022 from http:www.farmer.doae.go.th/farmer/index/index1.

Off ice of Agricultural Economics. 2566. Summary of planting situation and domestic marketing in 2023. Agricultural Economics Research Institute. Office of Agricultural Economics,Ministry of Agriculture and Cooperatives. Retrieved May, 15. 2023 from https://www.oae.go.th.

Malaticha Thaasara. 2561. Extension for promoting dry-season corn cultivation for farmers in BangRakam District, Phitsanulok Province. Master of Agriculture Thesis. Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi.

Pramuan Buakot. 2563. Promotion of animal feed corn cultivation by farmers in Saensuk Subdistrict,Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani Province. Master of Agriculture Thesis. Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi.

Sompong Promtee Nareerat Sirasarn Bamphen Khiewwan. 2565. Guidelines for promoting the cultvation of animal feed corne of farmers in Kabin Buri District, Prachin Buri Province. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(10).

Thanwarat Chaemsai. 2562. Extension for managing the potential of sweet corn cultivation in Sriratana District, Sisaket Province. Master of Agriculture Thesis. Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi.

Thongphakwan Traphreungsakun. 2562. Promotion of dry season corn cultivation according to the management principles of the zone economic agriculture for important agricultural products, Phrom Phiram District, Phitsanulok Province. Master of Agriculture Thesis. Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi.

Wanichnan Sarathongkruen. 2564. Promotion of sweet corn cultivation by farmers in Sawankhalok District, Sukhothai Province. Master of Agriculture Thesis. Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-17

How to Cite

พูลทอง ไ. ., สีระสาร น. ., & เขียวหวาน บ. . (2024). การส่งเสริมการผลิตข้าวโพดหวานของเกษตรกรในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 37(1), 59–73. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/stouj/article/view/268314