ความพึงพอใจของแพทย์ต่อการบริการของศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • ธัญวรรณ อาศนสุวรรณ์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จิราภา พลายเล็ก ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รัตน์หทัย เมืองธรรม ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สหชาติ มาฆะดิลก ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพ, แพทย์ผู้รับบริการ

บทคัดย่อ

ศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพฯ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นศูนย์กลางการผลิตกระดูกและเนื้อเยื่อจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้วเพื่อบริการให้แก่ศัลยแพทย์ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อการบริการที่ดีขึ้นของศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพฯ ทางผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ศึกษาความพึงพอใจของแพทย์ผู้รับบริการต่อคุณภาพการบริการของศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพฯ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ ด้านศัลยศาสตร์ และด้านจักษุวิทยา จำนวนทั้งหมด 150 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จำนวน 16 ข้อ ด้านการบริการ จำนวน 14 ข้อ และด้านความพึงพอใจ จำนวน 8 ข้อ ทั้งหมด 38 ข้อ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ ดำเนินการส่งแบบสอบถามในรูปแบบเอกสารและรูปแบบ Google form รายงานผลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า มีแบบสอบถามที่ตอบกลับและสมบูรณ์ทั้งหมด 111 ชุด คิดเป็นร้อยละ 96.52 โดยระดับความพึงพอใจของแพทย์ผู้รับบริการต่อคุณภาพการบริการของศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพฯ โดยรวมสูงสุดคือด้านการบริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 รองลงมาคือ ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และด้านความสามารถในงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ 4.67 สรุปได้ว่า ความพึงพอใจโดยรวมของแพทย์ผู้รับบริการต่อคุณภาพการบริการของศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพฯ ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ด้านการบริการ และด้านความสามารถในงานอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

References

Ahmed, N., Eras, V., Pruß, A., Perka, C., Brune, J., & Vu-Han, T. L. (2023). Allografts: expanding the surgeon's armamentarium. Cell Tissue Bank, 24(1), 273-283. doi:10.1007/s10561-022-10015-7

Aho, A. J., Hirn, M., Aro, H. T., Heikkilä, J. T., & Meurman, O. (1998). Bone bank service in Finland. Experience of bacteriologic, serologic and clinical results of the Turku Bone Bank 1972-1995. Acta Orthop Scand, 69(6), 559-565. doi:10.3109/17453679808999255

Aurich, M., & Hofmann, G. O. (2021). Fixation of Displaced Avulsion Fracture of the Anterior Superior Iliac Spine (ASIS) after Bone Graft Harvesting Using Anatomic Low-Profile Locking Plate: Case Report and Surgical Technique. Z Orthop Unfall, 159(6), 681-686. doi:10.1055/a-1192-7544

Balling., H., & Weckbach., A. (2020). Demineralized bone matrix versus autogenous bone graft for thoracolumbar anterior single-level interbody fusion. Acta Orthop Belg, 86, 6-16.

Daniel, W. (1999). Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. (7th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Fu, S. H., Liu, J. Y., Huang, C. C., Lin, F. L., Yang, R. S., & Hou, C. H. (2017). Quality control processes in allografting: A twenty-year retrospective review of a hospital-based bone bank in Taiwan. PLoS One, 12(10), e0184809. doi:10.1371/journal.pone.0184809

Khoo, K. L. (2022). A study of service quality, corporate image, customer satisfaction, revisit intention and word-of-mouth: evidence from the KTV industry. PSU Research Review, 6(2), 105-119. doi:10.1108/PRR-08-2019-0029

Kitzmann, A. S., Goins, K. M., Reed, C., Padnick-Silver, L., Macsai, M. S., & Sutphin, J. E. (2008). Eye bank survey of surgeons using precut donor tissue for descemet stripping automated endothelial keratoplasty. Cornea, 27(6), 634-639. doi:10.1097/QAI.0b013e31815e4011

Parasuraman, P., Zeithaml, V., & Berry, L. (1985). A Conceptual Model of Service Quality and its Implication for Future Research (SERVQUAL). The Journal of Marketing, 49, 41-50. doi:10.2307/1251430

Parasuraman, P., Zeithaml, V., & Berry, L. (1988). SERVQUAL: A Multiple-Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 64, 12-40.

Raja, E. A. L., Maharani., & Raja, J. G. L. (2023). The Effect of Product Quality and Service Quality on Customer Satisfaction. Educational of History and Humanities, 6(2), 494-499.

Sithongsay, K. (2019). The Satisfaction of public health service. Journal of Roi Kaensarn Academi, 4(2), 34-49. (in Thai)

Sutad, W., & Kanokporn, C. (2022). Effects of service quality and delivery efficiency on customers’ continued use of maintenance services. Social Science Journal of Prachachuen Research Network, 4(2), 1-16. (in Thai)

The Bangkok Biomedical Center Department of Orthopedic Surgery. (2019). Annual report 2019 , The Bangkok Biomedical Center, Department of Orthopedic Surgery (September 16, 2019). Retrieved from https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/orthopedics/Download/2563_annual%20report62/2562-012-The_Bangkok_Biomedical_Center.pdf

Trakulboonnate., N. (2017). The satisfaction of out-patient department service in the pricess mother navuti hospital. Journal of The Police Nurses And Health Science, 9(2), 64-74. (in Thai)

Vajaradul, Y. (2000). Bangkok biomaterial center: 15 years experience in tissue banking. Cell Tissue Bank, 1(3), 229-239. doi:10.1023/a:1026542730541

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-03

How to Cite

อาศนสุวรรณ์ ธ. ., พลายเล็ก จ. ., เมืองธรรม ร. ., & มาฆะดิลก ส. . (2025). ความพึงพอใจของแพทย์ต่อการบริการของศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพ. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 37(2), 41–58. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/stouj/article/view/271613