แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล จั๋นแก้ว -
  • สุบัน พรเวียง

คำสำคัญ:

แนวทาง, พลังอำนาจครู, ผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ 2) เพื่อศึกษาและจัดทำแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ และ3) เพื่อตรวจสอบแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ ซึ่งการศึกษามี 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางการศึกษา ฯ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ฯ จำนวน 650 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม 2) การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ3) การตรวจสอบแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครูที่มีประสบการณ์ในสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบตรวจสอบแนวทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า

  1. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ พบว่า สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือในสถานศึกษา สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการสร้างแรงจูงใจแก่ครู ส่วนความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ โดยภาพรวม มีค่า 0.13 ด้านที่มีความต้องการมากที่สุด คือ ด้านการสร้างแรงจูงใจแก่ครู
  2. แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ คือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างขวัญกำลังใจแก่ครู เช่น มอบของขวัญวันเกิด วันรับปริญญา การเลื่อนวิทยฐานะและโอกาสความสำเร็จต่าง ๆ 2) ผู้บริหารสถานศึกษาควรรับฟังความคิดเห็นและปัญหาของครูอย่างกัลยาณมิตร 3) ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้โอกาสครูตัดสินใจในการใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสำหรับการจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติงานในหน้าที่ และสร้างระบบที่สนับสนุนครูในการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี 4) ผู้บริหารสถานศึกษาควรวางตัวให้เหมาะสมปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำ น่านับถือ เป็นระเบียบ รวมทั้งปฏิบัติงานอย่างมีวินัย และ5) ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างพื้นที่ที่เปิดกว้างให้ครูมีโอกาสพูดคุยและแบ่งปันความคิดเห็น เพื่อให้ทีมสามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ผลการตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ของแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด                                              คำสำคัญ : แนวทาง  / พลังอำนาจครู  / ผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษา

References

Adithep, S., & Songwon, I. (2022). Leadership Change and School Effectiveness: A Case Study of Schools Affiliated with the Education Office, Secondary Education Area Nakhon Pathom. The Journal of Institute of Trainer Monk Development, 6(4), 73-83.

Apicha Watrojchanakorn and Wichit Kamontakun. (2023). Needs Assessment and Guidelines for Empowering Teachers in Secondary Schools in Amnat Charoen Province. Journal of Social Sciences and Political Science, 7(2), 161-183.

Apichat, T. (2012). Empowering Teachers in Basic Education Schools Aff iliated with the Basic Education Commission. Journal of Graduate Education, Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage, 6(3), 143-155.

Cheewasart, K. (2018). Characteristics of School Administrators Influencing Teachers’ Motivation in Performing Their Duties: A Case Study of Teachers Aff iliated with the Education Off ice, Primary Education Area Chachoengsao District 1. Master’s Thesis. Chachoengsao: Rajabhat Rajanagarindra University.

Kanitha Thonglert. (2020). A Model for Empowering Teachers and Educational Personnel to Develop Academic Work of Educational Institutions. MCU Ubon Review Journal, 5(2), 533-548.

Kanitha Thonglert. (2020). A Model for Empowering Teachers and Educational Personnel to Develop Academic Work of Educational Institutions. MCU Ubon Review Journal, 5(2), 533-548.

Kanter, R. M. (1993). Frontiers of management. Boston: Mass A Harvard Business Review.

Ministry of Education. (2016). Operational Workshop Manual: Guidelines for Implementing the People’s State Integration Project, Basic Education and Leadership Development. Bangkok: Kurusapa Ladprao Printing House.

Nuriaha, H. (2021). Leadership Behavior of School Administrators and Teachers’ Motivation in Performing Their Duties: A Case Study of Teachers Aff iliated with the Education Off ice, Primary Education Area Yala District 2. Master’s Thesis. Yala: Yala Rajabhat University.

Office of Educational Affairs, Chiang Mai Province. (2023). Report on Educational Innovation in Chiang Mai Province Fiscal Year 2022: Office of Educational Affairs, Chiang Mai Province.

Pasawee-pitch, S. (2019). Teamwork of School Administrators Aff iliated with the Education Off ice, Primary Education Area Chonburi. Master’s Thesis. Pathum Thani: Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

Pattama Kalphakdee, Oraphan Tuchinda and Duangjai Chanasit. (2023). Empowerment of Administrators Affecting Teachers’ Organizational Commitment in Schools Under Suphanburi Primary Educational Service Area Off ice 2. The Journal of Institute of Trainer Monk Development, 6(2), 51-63.

Phutthipong, T. (2019). The Role of Administrators in Promoting the Use of Technology for Learning Management According to the Perceptions of School Administrators and Teachers in Secondary Schools Aff iliated with the Education Off ice, Secondary Education Area District 1. Master’s Thesis. Bangkok: University of the Thai Chamber of Commerce.

Pitchaya Saengthongthip and Yuwathida Chapanya. (2022). Teacher Empowerment Affecting the Effectiveness of Academic Administration in Schools Under Yasothon Primary Educational Service Area Off ice 1. Journal of Buddhist Philosophy and Development, 6(2), 53-67.

Scott C. D., Jaffe D T. (1991). Empowerment : Building a committed Workforce. California: Koga Page.

Somsak, Y. (2023). Leadership Traits of School Administrators Affecting Teacher Motivation in Schools Affiliated with the Education Office, Primary Education Area Nakhon Phanom District 2. Master’s Thesis. Sakon Nakhon: Rajabhat Sakon Nakhon University.

Sukwatchara Theppin and Sasiirada Paengthai. (2020). A Model for Empowering Teachers in Schools Under Khon Kaen Primary Educational Service Area Off ice. Journal of Buddhist Anthropology, 5(5), 218-229.

Supatida Pasanta. (2023). Guidelines for Developing Teacher Empowerment in the Network Group for Promoting Educational Management Eff iciency at Special Education Center, Education Area 11. Master’s Thesis, Master of Education in Educational Management. Graduate School: Mahasarakham Rajabhat University.

Teerarat, R. (2014). Professional Competence in Education Management and Administration in the Educational Reform Era for Education Reform.

Vorawan Singha, Thanyathep Sittisue and Songdej Sonjai. (2023). Development of Guidelines for Teacher Empowerment Under Sisaket Primary Educational Service Area Off ice 1. Journal of Academic Affairs, Sisaket Rajabhat University, 17(3), 99-113.

Wacharit, J., & Matana, W. (2020). Motivation to Perform Duties of Teachers in Baan Yangsung School. Mahamakut Graduate School Journal, 20(1).

Wathinee, P. (2020). Management Components and Educational Innovation in the Area. Journal of Innovation and Management, 6(2), 65-77.

Wirandha, S., & Colleagues. (2007). Management and Organizational Behavior. Bangkok: Theeraphiel and Chaitex.

Yupin, P. (2019). Developing Strategies to Empower Teachers: A Case Study of Teachers Affiliated with the Education Off ice, Secondary Education Area District 24. Master’s Thesis. Maha Sarakham: Mahasarakham University. Round 2 and External Round 3 Evaluation. (8th ed.). Bangkok: Brown Rice Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-17