รำวงสวัสดี : นวัตกรรมนาฏศิลป์สร้างสรรค์เพื่อการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้สูงวัยในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พิมพิกา มหามาตย์ วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ฤดีชนก คชเสนี วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • จินตนา อนุวัฒน์ วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ปรัชญา เข็มนาค วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

รำวงสวัสดี, การส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ, การสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา รูปแบบ โครงสร้างและองค์ประกอบของรำวง 2) สร้างสรรค์นาฏศิลป์ชุด รำวงสวัสดี เพื่อการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้สูงวัยในจังหวัดนครปฐม มีขอบเขตด้านเนื้อหาโดยศึกษารูปแบบและโครงสร้างของรำวงในจังหวัดกรุงเทพฯ นครปฐม และเพชรบุรีเท่านั้น ด้านพื้นที่เก็บข้อมูลจากสถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมบรมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) เท่านั้น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ และใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณในการวิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมิน

              ผลจากการวิจัย พบว่า 1) รำวง คือการละเล่นทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของไทย เล่นเพื่อสนุกสนาน สามัคคี มักรำเป็นหมู่ และเดินลักษณะวงกลม พัฒนามาจากรำโทน รำวงสามารถจำแนกได้2 รูปแบบ คือ รำวงชาวบ้านหรือรำวงย้อนยุค และรำวงมาตรฐาน รำวงชาวบ้านหรือรำวงย้อนยุคใช้โครงสร้างท่ารำพื้นฐานอย่างง่ายประยุกต์ใช้กับท่าเต้น เคลื่อนที่เป็นวงกลม และแปรแถวตามความสวยงาม ขั้นตอนการรำ ได้แก่ การรำไหว้ครู รำวงรอบหวาน และรำวงรอบธรรมดา ผู้แสดงเป็นผู้หญิง แต่งกายสีฉูดฉาด ใช้เพลงลูกทุ่งสมัยนิยมทำนองคุ้นหูที่มีเนื้อหาเกี้ยวพาราสี ส่วนรำวงมาตรฐาน มีโครงสร้างท่ารำจากการนำท่ารำเพลงแม่บทมาปรับใช้ เคลื่อนที่เป็นวงกลมทวนเข็มนาฬิกา มีขั้นตอนการรำ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การแสดงความเคารพการรำวงมาตรฐาน 10 เพลง และการเดินเข้าเวที ใช้ผู้แสดงชายหญิง แต่งกาย 4 แบบตามที่กรมศิลปากรกำหนด 2) การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ชุด รำวงสวัสดีฯ ได้บูรณาการแนวคิดการส่งต่อความปรารถนาดีด้านสุขภาวะให้กับผู้สูงอายุ แนวคิดการใช้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และแนวคิดการนำเสนอของดี สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐมเข้าด้วยกัน มีรูปแบบการแสดงแบบรำวง เน้นความสนุกสนาน โดยกำหนดความคิดหลักว่า ร่วมร้อง ร่วมรำ ทำเพื่อสุขภาวะ กำหนดให้มีเพลง 7 เพลง สอดรับกับ 7 วันใน 1สัปดาห์ใช้เพลงที่มีทำนองคุ้นหูมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ ใช้ท่ารำจากการรำวง ท่านาฏยศัพท์ และท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ แบ่งการรำ 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 การอบอุ่นร่างกาย ช่วงที่ 2 การออกกำลังกายด้วยรำวง และ ช่วงที่ 3 การคลายกล้ามเนื้อ ใช้การเคลื่อนที่เน้นความแบบเรียบง่าย ผลการประเมินพฤติกรรมด้วยการวัดซ้ำ 3 ครั้ง พบว่า ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีขึ้นในทุกด้าน สุขภาวะด้านร่างกายมีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ (equation = 7.44)
ผลการประเมินสุขภาวะทั้ง 4 ด้าน พบว่า หลังการใช้รำวงสวัสดี ผู้สูงอายุมีสุขภาวะดีขึ้นทุกด้าน โดยเฉพาะสุขภาวะด้านร่างกาย มีค่าเฉลี่ย (equation= 5.00) และผลประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรมรำวงสวัสดีมากที่สุดในทุกด้าน ค่าเฉลี่ยรวม (equation= 4.96) จากการสร้างสรรค์ดังกล่าว พบองค์ความรู้ด้านแนวทางและกระบวนการสร้างสรรค์นาฏศิลป์เพื่อส่งเสริมสุขภาวะในผู้สูงวัย และความสอดคล้องของนาฏศิลป์กับสุขภาวะของผู้สูงวัย สามารถนำไปปรับใช้กับการจัดการศึกษา สังคม ชุมชน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป

References

Departmaent of Mental Health. (2020). Annual Report 2020. Bangkok: Departmaent of Mental Health. (in Thai)

Khemthong, A. Saengon, C. (2022). Promoting aerobic exercise for the elderly. Udonthani Hospital Medical Journal. 30 (1). 177-186. (in Thai)

Nodthaisong, P. (2021). What do the statistics tell us about the current and future elderly. Bangkok: National Statistical Office.

Prompuay, T. (2023, October) Personal communication [personal interview]

Suriyawong, K. (2020). The Adaptation of the Folk Media : Ramwong Yonyook Phetchaburi. Dhurakij Pundit Communication Arts Journal . 14 (2), 167-197. (in Thai)

Thinkham, Y., Thongyou, M. (2009). Transnational Cultural Reproduction in Cross-culturalMarriage of Thai Women and Japanese Men. KKU Research Journal (Graduate Studies). 9(4), 90-101. (in Thai)

Virunrak, S. (2014). Lakkan sadæng nattaya sin parithat [Principles of Dramatic Arts]. Bangkok, Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Vechasurack, S. (2004). Choreographic principle of Thanpuying Paew Sanithwongseni. Thesis Ph.D. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-03

How to Cite

มหามาตย์ พ., คชเสนี ฤ. ., อนุวัฒน์ จ. ., & เข็มนาค ป. . (2025). รำวงสวัสดี : นวัตกรรมนาฏศิลป์สร้างสรรค์เพื่อการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้สูงวัยในจังหวัดนครปฐม. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 37(2), 6–26. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/stouj/article/view/272691