แนวทางการสร้างกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยทางรัฐศาสตร์ Guidelines for Establishing Conceptual Framework Theories Used in Political Research
Main Article Content
Abstract
การวิจัยทางรัฐศาสตร์ เป็นการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์ในสังคมซึ่งพฤติกรรมของมนุษย์เป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างมาก ผันแปรไปตามตัวแปร จึงยากกว่าการศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเสียอีกเพราะปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจะเกิดขึ้นอย่างซ้ำๆ จนเราสารถสังเกตความเข้าใจได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจเรียนรู้พฤติกรรมมนุษย์จึงต้องการเครื่องมือที่ละเอียดอ่อน มีความสามารถในการวัด มีความเชื่อถือได้ มีความเที่ยงตรงในการศึกษา ระเบียบวิธีการศึกษาเช่นนี้เรียกว่า “การวิจัยอย่างเป็นวิทยาศาสตร์” ซึ่งหมายถึงการแสวงหาความรู้ คำตอบที่ยังไม่รู้ หรือสงสัยอย่างเป็นระบบ เป็นระเบียบ มีความเชื่อถือได้ เที่ยงตรง โดยอาศัยข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นหลัก แต่ทว่าการวิจัยอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ในศาสตร์ทั้งหลาย สิ่งหนึ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ก็คือ “กรอบแนวคิด ทฤษฎีการวิจัย” เนื่องจากกรอบแนวคิด ทฤษฎีเปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะคอยนำทางให้เราต้องการได้ ซึ่งในการเดินทางหากปราศจากเข็มทิศแล้วย่อมจะหลงทางได้ง่ายหรืออาจจะเปรียบกรอบแนวคิดการวิจัยได้กับธรรมะโอสถของพระพุทธเจ้าที่ทรงวิเคราะห์บุคคลผู้ที่จะรับให้เข้ากับสภาพอาการที่เป็น
แต่ก่อนจะมาเป็นกรอบแนวคิด ทฤษฎีได้นั้นจำเป็นต้องเริ่มต้นที่กระบวนการค้นคว้าเอกสาร ตำรา ฯลฯ ซึ่งจะอยู่ในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กัน โดยกระบวนการดังกล่าวเป็นการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ เป็นการทบทวนวรรณกรรม หรือเรารู้จักกันทั่วไปคือการทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ส่วนมากมักจะอยู่ในบทที่ 2 ของการวิจัย อันนำมาสู่การสร้างกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรได้ชัดเจน
Political Science Research is a quest for knowledge about human Politics behavior in Society, where human behavior is very complex. Variation by variable it is more difficult to study the natural phenomena because the natural phenomenon is repeated, until we notice the understanding. So, understanding human learning requires a delicate instrument, ability to measure Reliable Accuracy in education this method of education is called; “Scientific research” this refers to the pursuit of knowledge, the answer is unknown or systematic suspicion, reliable, reliable, based on empirical data. But scientific research in science. One thing that can not be missed is the “Research Theory Framework”. Because the concept framework Theory is like a compass to guide us to the need. In traveling without a compass, it is easy to lose, or it can be compared with the concept of research with the Buddha drug of the Buddha to analyze the person who will be treated to the condition that is.
But before coming to the theory conceptual framework, it is necessary to start at the process of researching documents, textbooks, etc., which are in a related way. By this process is the study of concepts, theories and principles as a literary review. Or are we commonly known to review related research papers. Most often in Chapter 2 of research that leads to conceptual frameworks for research, give is relationship between variables is clear.
Article Details
References
ปรัชญา เวสารัชช์. (2529). ปรัชญาของศาสตร์ – รัฐศาสตร์. เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและวิธีการ วิเคราะห์การเมืองสมัยใหม่ เล่ม 1 หน่วยที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
ปธาน สุวรรณมงคล. (2556). กรอบแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยทางรัฐศาสตร์. เอกสารการสอนชุดหลักเบื้องต้นของการวิจัยทางรัฐศาสตร์. เล่มที่ 1 หน่วยที่ 3. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2560). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม 2556. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2560, จาก https://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=93.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). ปรัชญาการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์. (2529). การสร้างแนวคิด. เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและวิธีการวิเคราะห์การเมืองสมัยใหม่ เล่ม 1 หน่วยที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2536). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ หลักการหาความรู้ วัด ดำเนินงานวิจัยวิเคราะห์ข้อมูล และเขียนรายงาน. ขอนแก่น: ห้างหุ้นส่วนจำกัดขอนแก่นการพิมพ์.
สัญญา เคณาภูมิ. (2556). การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยและการสร้างกลยุทธ์จากฐานการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. เอกสารประกอบการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สัญญา เคณาภูมิ. (2557). การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์โดยการคิดเชิงเหตุผล.วารสารราชภัฎเพชรบูรณ์สาร. 16 (1).
สัญญา เคณาภูมิ. (2557). การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3 (1).
Abbott. Martin Lee & Mckinney, (2013). Jennifer. Understanding and Applying Research Design. New Jersy : John Wiley & Sons. Inc.
Don G. McTavish and Herman J. Loether. (2002). Social Research an Evolving Process. MA:Allyn & Bacon.