การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง The development of integrated local unit of the concept of sufficiency economy philosophy

Main Article Content

เยาวเรศ ภักดีจิตร Yaowares Pakdeejit

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. สร้างและหาคุณภาพหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 3. ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียนในชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบบันทึกการสัมภาษณ์ 2. แบบบันทึกหน่วยการเรียนรู้  3. แบบประเมินคุณภาพหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น 4. แผนการจัดการเรียนรู้ และ 5. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสังเคราะห์ข้อมูลเรียบเรียงเขียนเป็นความเรียง


                 ผลการวิจัย พบว่า


1.ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน มีความต้องการให้มีการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเห็นว่าควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา


2.การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีจำนวน 4 หน่วย ประกอบด้วย หน่วยที่ 1 ปฏิบัติตนตามพ่อสอนสั่ง รวมพลังพลเมืองดี หน่วยที่ 2 ทรัพยากรท้องถิ่นมีคุณค่ารักษาอย่างพอเพียง หน่วยที่ 3 รับ – จ่ายรู้ค่า พาชีวิตให้พอเพียง และ หน่วยที่ 4 ชีวิตมีคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน  และมีผลการประเมินคุณภาพหน่วยการเรียนรู้ ในระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก


3.การใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนสามารถปฏิบัติงาน ทำกิจกรรมกลุ่ม สำรวจวิเคราะห์ เสนอแนวทางการแก้ปัญหาในชุมชน  วางแผนทำบัญชีรายรับรายจ่าย และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


This research objectives were: 1) to study the basic information in the development of integrated local learning units according to the sufficiency economy philosophy 2) to build and find quality local learning units integrated in the sufficiency economy philosophy and 3) to study the effect of integrated local learning unit according to sufficiency economy philosophy. The population in this study included school administrators, teachers and students in the community. The tools which are used in this research include 1) interview form
2) learning unit form 3) the evaluation form on local learning unit 4) learning management plan and 5) a questionnaire of satisfaction of students toward the use of integrated local learning units according to the philosophy of economy. The data is analyzed by frequency distribution, percentage, average and standard deviation, and then is synthesized in essay writing fashion. 


The finding results show that:


  1. School administrators, teachers, and students need to develop integrated local learning units according to the sufficiency economy philosophy and that should be organized learning activities that integrate the concept of sufficiency economy philosophy in the school.

  2. The development of integrated local learning units according to the sufficiency economy philosophy consists of 4 units, consisting of Unit 1: acting by the father teaching, good citizenship. Unit 2: valuable local resources, suffice it enough. Unit 3: Pay to know the cost of living. Sufficient enough and Unit 4: life is worth the local wisdom of the community and has the effect of evaluating the quality of the learning unit. The level of appropriateness is very high.

  3. The use of integrated local learning unit according to Sufficiency Economy Philosophy. Students can practice. Group activities Analytical survey Offer solutions to problems in the community. Plan to make income. And participate in environmental conservation in the community. The students were satisfied with the use of integrated local learning units according to Sufficiency Economy Philosophy. The overall picture is at the highest level

Article Details

Section
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ฆนัท ธาตุทอง.(2550). เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

จริยา โสพิกุล. (2552). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการ เรื่อง ขนมไทยในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

ฐิติพร จินดาพงษ์. (2550). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง กล้วยไข่สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. สักทอง : วารสารการวิจัย, 13 (2).

พระมหาสิริวัฒน์ อริยเมธี. (2549). วิเคราะห์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากมุมมองของพุทธศาสนา. เชียงใหม่ : หจก.เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.

พูลจิต หลี่อินทร์. (2555). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ เรื่อง วัฒนธรรม ประเพณีในท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5 (1-2).

ภัทรวดี แผ้วพลสง. (2559). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองพลวง. วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 3 (5).

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคระกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). ตามรอยพระราชดำริ สู่. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

เยาวเรศ ภักดีจิตร และคณะ. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างหลักสูตรท้องถิ่นและพัฒนาฐานความรู้ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 7(13), 51-66.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2560). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 12(35), 33-44.

รุ่งนภา นุตราวงศ์. (2552). หลักสูตรอิงมาตรฐาน การพัฒนาสู่คุณภาพ. วารสารวิชาการ, 4 (60).

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2550). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2549). เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมเรียนรู้ สานข่าย ขยายผล. กรุงเทพฯ: บริษัทอมริทร์พริ้นติ่งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. เอกสารประกอบการฝึกอบรม พฤศจิกายน 2551.

อุดมพร อมรธรรม. (2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว.

Henson, K.T. (2001). Curriculum Planning: Integrating, Multiculturalism, Constructivism and Education Reform. New York: McGraw – Hill.

Mc Neil, John D. (1981). Curriculum: Comprehensive Introduction. Boston: Little, Brown and Company, Boston.

Pratt, David. (1980). Curriculum: Design and Development. New York: Harcourt, BraceJovanovich.