ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 Administrator's Transformational Leadership Effecting on Student - Centered Learning of Schools Under The Office of Phitsanulok Primary Educational Service Area 3

Main Article Content

กิติศักดิ์ ปัญโญ และคณะ Kitisak Panyo and Others
รศ.ดร.ฉลอง ชาตรูประชีวิน

Abstract

               ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา  2)  ศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  3)  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  4)  สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  กลุ่มตัวอย่างคือ  ผู้บริหารสถานศึกษาและครู  จำนวน  409  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม  ชนิดสำรวจรายการ  และชนิดมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  แบ่งออกเป็น  3  ตอน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน 


                จากการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2)  ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  3)  ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  พบว่ามีความสัมพันธ์ในทางบวกและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01  4)  ผลการศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  อย่างมีนัยทางสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  มีจำนวน  3   ตัวแปร  คือ  การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์  ()  การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ()  และการกระตุ้นทางปัญญา ()  ตามลำดับ    ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามลำดับ  


                    In this research, there were four objectives as follow: 1) to study the transformational leadership of school administrators 2) to study the effectiveness of student - centered learning 3) to study the relationship between the transformational leadership of school administrators and the effectiveness of student - centered learning 4) to search the transformational leadership of school administrators as predictors of the effectiveness of student - centered learning. Sample group were school administrators and teachers with 409 people. A quantitative was applied to this study, which quantitative approach was adopted questionnaires both check-list and rating scale questionnaires used to answer study questions. Quantitative data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis.


                The findings of this thesis reveal 1) the transformational leadership of school administrators were at high - level on the overall 2) the effectiveness of student - centered learning were at high - level on the overall 3) the results of the relationship between transformational leadership of school administrators and the effectiveness of student - centered learning were positive and statistically significant relationships at the 0.01 level. 4) the results of the transformational leadership of school administrators affecting the effectiveness of  student - centered learning were the best predictive variables are Idealized Influence Individualized Consideration and Intellectual Stimulation. Therefore, can written equation of prediction in the form of raw scores and standard scores as follows:

Article Details

Section
Dissertations

References

กนกอร สมปราชญ์. ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 12(34), 51-66.

ชัยวัฒน์ สุธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

ทวีศักดิ์ ยศถา, ชูศักดิ์ เอกเพ็ชร, วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน. (2558). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำการเรียนการสอนของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษามัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11. วารสารราชภัฏราษฎร์ธานี. 2 (1), 67-86.

อนงค์วรรณ อุประดิษฐ์ และ บุญฑวรรณ วิงวอน. (2560). การรับรู้สภาพแวดล้อมภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการมุ่งเน้นทางการตลาดที่มีผลต่อการดำเนินงานทางการเงินของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 7(12), 29-46.

ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งสำนักนายกรัฐมนตรี.

วราภรณ์ มุกดาอ่อน. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. การศึกษาศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพรส (1989).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. (10 มิถุนายน 2559). ทะเบียนที่ตั้งโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2559, จากhttp://www.phitsanulok3.go.th/data_1.php?id_group=55&name_group=%A2%E9%CD%C1%D9%C5%CA%B6%D2%B9%C8%D6%A1%C9%D2.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน 2554). (พิมพ์ครั้งที่ 1). สมุทรปราการ: บริษัท ออฟเซ็ท พลัส จำกัด.

สนธิ สถาพร. (2558). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.

Bass, B.M. & Avolio, B.J. (Eds.). (1994). Improving organizational effectiveness through transformational leadership. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

David, G.A. & Thomus, M. A. (1989). Effective School and Effective Teachers. Boston: Allyn and bacon.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Likert & Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.