การศึกษาระดับศักยภาพของแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวฮาลาลบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนล่าง สำหรับนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม A Study on Potential levels of Halal Tourism Resource in Lower Songkhla Lagoon Area for Muslim Tourists

Main Article Content

วราภรณ์ สุขแสนชนานันท์ และคณะ Waraporn Suksanchananun and Others
สมชัย ปราบรัตน์,
วารีพร ชูศรี,
สุรเดช หวังทอง,
ปภาวัลย์ สุทธิประสิทธิ์

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ และประเมินศักยภาพของแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวฮาลาล รวมทั้งวิเคราะห์ความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวฮาลาล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวมุสลิมจำนวน 400 คน คำนวณจากสูตรของ ทาโร ยามาเน่  ที่ยอมรับความคลาดเคลื่อนได้ 5% ภายในพื้นที่เขตอำเภอเมือง อำเภอหาดใหญ่ อำเภอสิงหนคร และอำเภอควนเนียง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้เครื่องมือมาตรการวัดเจตคติ (Attitude Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert’s Scale) และนำเสนอผลการเปรียบเทียบระหว่างศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวฮาลาลและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมด้วยเทคนิค  Importance Performance Analysis (IPA)  ผลการวิจัยพบว่า ระดับศักยภาพของแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวฮาลาล 6 ด้านได้แก่ 1) ด้านการจัดการการท่องเที่ยว  2) ด้านการตอบรับของประชาชนในท้องถิ่น 3) ด้านคุณค่าและความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยว 4) ด้านสิ่งแวดล้อม 5) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว และ6) ด้านความสะดวกในการเข้าถึง มีระดับศักยภาพอยู่ในระดับมากทั้งหมด โดยมีระดับศักยภาพเท่ากับ 3.90, 3.83, 3.82, 3.81, 3.76 และ 3.72 ตามลำดับ สำหรับระดับความต้องการของนักท่องเที่ยวมุสลิมที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวนั้น มี 2 ด้าน ที่นักท่องเที่ยวมีระดับความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการจัดการการท่องเที่ยว โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 รองลงมาด้านคุณค่าและความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยว โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26  ส่วนอีก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการตอบรับของประชาชนในท้องถิ่น ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความสะดวกในการเข้าถึง และ  ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวมีระดับความต้องการอยู่ในระดับมากโดยมีระดับความต้องการเฉลี่ยเท่ากับ 4.18, 4.18, 4.16 และ 4.16 ตามลำดับ เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบแต่ละด้านด้วยเทคนิค IPA พบว่า ระดับความต้องการและระดับศักยภาพของแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวฮาลาล อยู่ในระดับสูง คืออยู่ใน Quadrant 2 ทั้ง 6 ด้าน อย่างไรก็ตามสำหรับระดับศักยภาพของแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวฮาลาล ยังคงต่ำกว่าความต้องการของนักท่องเที่ยวในทุกด้านเช่นกัน


           The objects of this research were to study and evaluate in potential levels of halal tourism resource, analyze Muslims tourist requirement rely on halal travelling area. The samples in this research were 400 Muslims tourists by using Tara Yamane formula at confident level 95 ± 5% in A.Muaeng, A.Hadyai, A.Singnakorn and A.Kuannieng area. The data were analyzed with descriptive statistic and rating scale. The results showed in percentile, means, standard deviation and IPA technique compared between potential levels of halal tourism resource and Muslims tourist requirement levels. The results were showed that potential of halal tourism resource were 6 results such as tourist management, local people acceptable, value & interesting places, environment, facilities and transportation were in 3.90, 3.83, 3.82, 3.76 and 3.72 sequence. For Muslims tourist requirement level to travelling places had 2 results that were in highest level was travelling management equal 4.31 level and value& interesting places equal 4.26 level for other 4 results which were local people acceptable, environment, facilities and transportation in travelling place were in high level or equal 4.18, 4.18, 4.16 and 4.16 sequence. After comparing the results by IPA Technique showed potential levels of halal tourism resource level and Muslims tourist requirement level were all in Quadrant II anyhow potential levels of halal tourism resource levels lower than Muslims tourist requirement levels.

Article Details

How to Cite
Waraporn Suksanchananun and Others ว. ส. แ., ปราบรัตน์, ส., ชูศรี, ว., หวังทอง, ส., & สุทธิประสิทธิ์ ป. (2018). การศึกษาระดับศักยภาพของแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวฮาลาลบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนล่าง สำหรับนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม: A Study on Potential levels of Halal Tourism Resource in Lower Songkhla Lagoon Area for Muslim Tourists. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 13(38), 31–46. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/105709
Section
Research Articles

References

กรมการท่องเที่ยว. (2554). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเพื่อสนองตอบความต้องการของชาวมุสลิม. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2558 จาก https://www.tourism.go.th/home/listcontent/11/797/114

ยุพิน หะลัน. (2546). รูปแบบการดําเนินชีวิต ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารฮาลาล ของผู้บริโภคมุสลิม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชาการโฆษณา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิวัฒน์ ชัยบุญยภักดิ์. (2550). ผลกระทบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่อมรดกศิลปวัฒนธรรม. จุลสารการท่องเที่ยว.

วิภาศรี ระทุ. (2551). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการท่องเที่ยวเพื่อนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

ศุทธิกานต์ คงคล้าย. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, ฉบับพิเศษ ปีที่ 11(33), 19-32.

สมชาย เลี้ยงพรพรรณ. (2547). การศึกษาศักยภาพของแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในบริเวณทะเลสาบ สงขลา. รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2545). หลักและทฤษฎีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์พรินติ้ง.

อรพรรณ จันทร์อินทร์ และคณะ. (2556). โครงการการพัฒนาศักยภาพการท่องเทียวฮาลาลฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย สําหรับนักท่องเที่ยวกล่มมุสลิม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ฮุซเซ็น นิยมเดชา. (2555). ระบบการจัดการการดำเนินงานของธุรกิจสปาฮาลาล: กลุ่มชุมชนสปามุสลิมบางคณฑีจังหวัดภูเก็ต. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

Collier, A. & Harraway, S. (1997). Principler of Tourism. Auckland: Longman.

Davidson, R. (1995). Tourism. (2nd ed.) Essex: Longman.

Martilla J.A. and J.C. James. (1977). Importance-Performance Analysis. Journal of Marketing. Vol. 41, 77-79

Swarbrooke, John and Susan Horner. (1999). Consumer behavior in Tourism: Butterworth Heinemann. Oxford.