กากมะพร้าวเหลือทิ้งจากการประกอบอาหาร สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ Coconut residue left from cooking Creative's products add economic value to the community Nakhon Sawan Oak Subdistrict, Muang District, Nakhon Sawan Province

Main Article Content

ไพฑูรย์ ทองทรัพย์ Phitoon Thongsap

Abstract

              กากมะพร้าวเหลือทิ้งจากการประกอบอาหาร สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้กับชุมชน ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์งานประติมากรรมจากกากมะพร้าวเหลือทิ้งจากการประกอบอาหารเป็นผลิตภัณฑ์ 2. เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานประติมากรรมจากกากมะพร้าว โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิธีการนำเอากากมะพร้าวมาเป็นวัสดุในการทำผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนที่ 2 นำกากมะพร้าวมาผสมกับตัวประสาน เช่น เรซิ่น โคบอล ตัวทำให้แข็ง  เพื่อขึ้นรูปเป็นงานประติมากรรม ประเภทงานหล่อ ขั้นตอนที่ 3 นำความรู้ไปใช้บูรณาการเรียนการสอนในห้องเรียนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการออกแบบและนำไปใช้ในการบริการวิชาการให้กับชุมชน ขั้นตอนที่4.ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่องานประติมากรรมทีทำจากกากมะพร้าว ด้านวัสดุ ด้านการออกแบบ และด้านประโยชน์ใช้สอย


                ผลการวิจัยพบว่า คนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์งานประติมากรรมจากกากมะพร้าวโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านวัสดุ วัสดุที่ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก เพราะกากมะพร้าวเป็นวัสดุเหลือใช้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพื้นสีของวัสดุมีความสวยงามเฉพาะตัวของมันเอง ด้านการออกแบบ สีสันของผลิตภัณฑ์มีความงามโดยพื้นผิวเดิมของตัวมันเอง อยู่ในระดับมาก เพราะกากมะพร้าวเมื่อผสมกับเรซิ่น เมื่อผลิตภัณฑ์ทำเสร็จแล้วก็จะได้สีน้ำตาลอ่อน มองรู้เลยว่าทำมาจากกากมะพร้าวและมีความสวยงาม เป็นมันวาว ด้านประโยชน์ใช้สอย นำไปใช้เป็นของที่ระลึกได้ อยู่ในระดับมาก เพราะผลิตภัณฑ์งานประติมากรรมที่ทำจากกากมะพร้าว มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ถ้าหล่อเป็นรูปงานประติมากรรมลอยตัว เป็นพระพุทธรูป ก็จะมีคนสนใจเช่าพระไปเป็นของที่ระลึกให้คนปลดเกษียณ ขึ้นบ้านใหม่ เปิดสำนักงาน งานแต่ง เป็นต้น ส่วนงานหล่อเรซิ่นกับกากมะพร้าวที่ทำให้มีขนาดเล็กพอประมาณ ก็จะมีการปั้นดินญี่ปุ่นเข้าไปเสริมด้วย ก็มีความเหมาะสมที่จะนำไปเป็นของที่ระลึก เพราะมีขนาดเล็ก เบา และแปลกตา


             Coconut residue left from cooking. Creative's products add economic value to the community.Nakhon Sawan Oak Subdistrict, Muang District, Nakhon Sawan Province. Purpose : 1.To create a sculpture product from coconut residue from cooking as a product. 2. To assess the satisfaction of creating a sculptural product from coconut pulp. The research methodology is as follows. Step 1 Learn how to make coconut residue as a material for making products. Step 2: Mix the coconut residue with binder, such as resin, cobalt, hardener, to form a sculpture. Casting type Step 3: Apply knowledge to integrate teaching into the undergraduate classroom. Design and use in academic service to the community. Step 4. Evaluate the consumer's satisfaction with the coconut-based sculpture design material. And useful side.


            The research found that : Most of the people were satisfied with the products of sculpture from coconut meal as a whole. Materials and materials used to make products are environmentally friendly. Very high Coconut residue is a waste material that is environmentally friendly. And the color of the material is beautiful itself. Design The color of the product is beautiful by its original surface. Very high Coconut residue when mixed with resins. When the product is finished, it will be light brown. I know it is made from coconut and is beautiful glossy. Usability Used as a souvenir. Very high Because sculpture products made from coconut. Has a unique character. If casting is a floating sculpture. Is a Buddha There will be people interested in renting a souvenir for people to retire home, open a new office, etc. The resin casting part with the coconut residue makes it small enough. It will be molded Japanese soil to supplement. It is appropriate to bring a souvenir. Because it is small, light and quaint.

Article Details

How to Cite
Phitoon Thongsap ไ. ท. (2018). กากมะพร้าวเหลือทิ้งจากการประกอบอาหาร สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์: Coconut residue left from cooking Creative’s products add economic value to the community Nakhon Sawan Oak Subdistrict, Muang District, Nakhon Sawan Province. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 13(39), 29–40. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/106672
Section
Research Articles

References

จีรพันธ์ สมประสงค์. การสร้างประติมากรรมจากปูนปลาสเตอร์. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้น ติ้งเฮ้าส์, 2533.

ดิศา ประสพลาภ. การหล่อเรซิ่นเบื้องต้น, นิตยาสารบายแฮนด์. 1(1) : 51; มกราคม, 2546.

นิรัช สุดสังข์. การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ไอเดียนสโตร์, 2548.

นวลน้อย บุญวงษ์. หลักการออกแบบ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2542.

ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์. การจัดการความรู้แบบบูรณาการ โดยการมีส่วนรวมของชุมชนเพื่อการพัฒนาศักยภาพในการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนเขาทอง จังหวัดนครสวรรค์. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2548.

มงคล ด่านธานินทร์. เศรษฐกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น, 2541.

มนตรี ยอดบางเตย. ออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2538.

วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: แอ๊ปป้าพริ้นทติ้ง กรุ๊ปจำกัด, 2548.

สุวิทย์ วิทยาจักษ์. การสร้างสรรค์งานหล่อ. กรุงเทพฯ: บอสส์การพิมพ์, 2555.

เสรี พงศ์พิศ. แนวชีวิตเศรษฐกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์, 2546.