ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการสอนอุปมาอุปไมย เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 The Effecting of Inquiry Approach and Analogy Technique on Cellular Respiration of Mathayomsuksa 4 Student

Main Article Content

วนิดา พูลพันธ์ชู Wanida Pulpanchoo

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  พัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการสอนอุปมาอุปไมย   2) ศึกษาบริบทการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนทหารอากาศอนุสรณ์ ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2560 จำนวน  26  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการสอนอุปมาอุปไมยเรื่องการสลายสารอาหารระดับเซลล์ 2) แบบวัดแนวคิดวิทยาศาสตร์ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.33-0.69 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33-0.72  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94  3) แบบบันทึกอนุทินของนักเรียน  4) แบบบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้


                  ผลการวิจัย พบว่า


  1. การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการสอนอุปมาอุปไมย พบว่า ก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้นักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีแนวคิดและแนวคิดคลาดเคลื่อน ร้อยละ 94.36  แต่หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ พบว่า  มีจำนวนนักเรียนร้อยละ 84.36  ที่มีการพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ 

  2. การศึกษาบริบทการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ พบว่า การจัดกิจกรรมที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง การได้ฝึกคิดอุปมาอุปไมยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นบริบทการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนกล่าวถึงมากที่สุด

            The purposes of this study were 1) to develop a scientific concept on Cellular Respiration of Mathayomsuksa 4 Student by using Inquiry Approach and Analogy Technique 2) to study the context of learning management that develops the scientific concept on Cellular Respiration of Mathayomsuksa 4 Student. The samples in this research were 26  Matthayomsuksa 4 students  from  Taharnarkartanusorn School studying in the first semester of the 2017 academic year. The research instruments  which used in this study were 1)  learning management plan of Inquiry Approach and Analogy Technique on Cellular Respiration 2)  Cellular Respiration  scientific concept Test  which had a difficulty level of 0.33-0.69 , a discrimination power of 0.33-0.72 and a reliability of 0.94 3) student journals 4) teacher reflective journals


                    The results of this research were as follows:    1.  The study a scientific concept development on Cellular Respiration of Mathayomsuksa 4 student by using Inquiry Approach and Analogy Technique  found  the  96.36  percent of all students that prior to the learning activities the majority of the students  mostly no understanding and  misconcept. However, after the learning activities, the increasing number of students who complete understand  and  partialy  understand  the concept  were found for 84.36 percent of  all students  showed a develop of scientific concept.    2.  The results of the study, for the context of learning management, found that self practicing activity, practicing in metaphor which related to their every life and group working were the context which the most support the development of scientific concept.

Article Details

Section
Dissertations

References

ไตรรัตน์ รัตนเดช. (2551). ศึกษาการพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับการหายใจระดับเซลล์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์-การสอน). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2552). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: NECTEC โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

ประภัทสร บุญทวีกุลสวัสดิ์. (2553). การพัฒนาแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง การรับรู้ และการตอบสนอง โดยใช้วิธีการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบ 5Es. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2540). Constructivism. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สาขาชีววิทยา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2550). รูปแบบการเรียนการสอนที่ พัฒนากระบวนการคิดระดับสูงวิชาชีววิทยาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (Online).สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2558. จาก https://www.ipst.ac.th/biology/Bio-Articles/mag-content10.html

สิริมา มิ่งเมือง และศุภชัย ทวี. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยใช้เทคนิคแผนผังความคิดเพื่อพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 7(13), 139-154.

สุรเดช ศรีทา.(2554). การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบหมุนเวียนเลือดในคนของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรักติวิซึม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. (วิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สมฤทัย สังฆคราม. (2553). รูปแบบการทำความเข้าใจ(MENTAL MODEL)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะเคมีโดยวิธีการสอนแบบเปรียบเทียบ(ANALOGY) ตามแนว FOCUS-ACTION-REFLECTION(FAR) GUIDE. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

โรงเรียนทหารอากาศอนุสรณ์. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. (2559). แบบบันทึกผลการพัฒนา คุณภาพ ผู้เรียน(ปพ.5) รายวิชาชีววิทยา 2 . นครสวรรค์: ผู้แต่ง.

Ayşe Sert Çibik, Necati Yalçin. (2011). The effect of teaching the direct current concept with analogy teachnique to the attitudes of science education students toward physics.Procedia Social and Behavioral Sciences, 15(2011), 2647-2651. Retrievrd June 18, 2015, from www.sciencedirect.com/science/article/pii/.../pdf?md5...

Brown, S. and S.Salter. (2010). Analogies in science and science teaching. Advances in Psychological Education, 34(1), 167-169. Retrievrd March 25, 2015, from https://advan.physiology.org/content/34/4/167

Fatma Türka , Alipaşa Ayas, Fethiye Karsl. (2010). Effectiveness of analogy teachnique on students’ achievement in general chemistry laboratory. Procedia Social and Behavioral Sciences, 2(2010), 2717-2721. Retrievrd April 21, 2015, from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042810004428

Paris, N.A. and S.M. Glynn. (2004). Elaborate analogies in science text. Tool for enhancing preservice teachers knowledge and attitudes. Contemporary Educational Psychology, 29, p. 230-247.

Westbrook, S.L. and E. A. Marek. (1992). A Cross-Age Study of Student Understanding of Concept of Homepstasis. Journal of Research in Science Teaching 29 (January), p. 51-61.