การนำเสนอแนวทางการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะ ด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต A Proposal on Effectiveness in Efficiency in Counseling for Teaching Internship Students Faculty of Education Phuket Rajabhat University

Main Article Content

รัฐพล พรหมสะอาด และคณะ Ratthapol Phromsaard and Others
สุรชัย มีชาญ
อรอุมา เจริญสุข

Abstract

                การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนั้นวิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อออกแบบแนวทางการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ อาจารย์และเจ้าหน้าที่สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จำนวน 3 คน 2) ครูพี่เลี้ยงสังกัดสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 คน 3) อาจารย์นิเทศก์ สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จำนวน 10 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ จำนวน 458 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน เครื่องมือสำหรับการวิจัย ได้แก่ แนวทางการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นต่อการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ และแบบประเมินความสมเหตุสมผลและความเป็นไปได้ในการนำแนวทางการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำไปใช้


            ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็น พบว่า ประเด็นที่นักศึกษาต้องการได้รับคำปรึกษาแนะนำมากที่สุด คือ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้     2. แนวทางการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการ/เตรียมความพร้อม (Preparation Phase = P) ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ (Planning Phase = P) ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำและให้ข้อมูลย้อนกลับ (Mentoring & Reflecting Phase = M & R) และขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลสมรรถนะ (Efficiency Evaluation Phase = E)  และ  3. ผลการประเมินความสมเหตุสมผล และความเป็นไปได้ของแนวทางฯ พบว่า ในภาพรวมผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า แนวทางที่เสนอมีความสมเหตุสมผลและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 


             This research aims to develop the mentoring approach in order to enhance students teaching experience proficiency at the Faculty of Education, Phuket Rajabhat University. The research employed qualitative and quantitative methods and then analyzed to design the proper counseling ways for students. Group discussion together with questionnaires on current counseling needs, and evaluation forms on efficiency and its implications possibility evaluation were used as instruments. The subjects were 3 lecturers and staffs from the faculty, 10 teaching assistants from basic education institutions, 10 teaching practice supervisors, 551 senior students and 10 educational experts.


              The research findings revealed that the most significant factor which students concerned was lesson plan preparation with (. The second was the counseling and developing teaching practice efficiency, which comprises of 4 phrases; Phrase 1: Preparation Phrase (P), Phrase 2: Planning Phrase (P), Phrase 3: Mentoring and Reflecting Phrase (M & R) and Phrase 4: Efficiency Evaluation Phrase (E). Overall, educational experts pointed out that the proposed approach showed significant of the efficiency evaluation and possibility implication as the most suitable way to apply to improve students mentoring with 

Article Details

Section
Dissertations

References

กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล. (2553). การพัฒนารูปแบบการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอน และการทำวิจัยในชั้นเรียนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการสอนคณิตศาสตร์. ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556, 19 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 130, ตอนที่ 130ง, น. 67-68.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2560). ทักษะ 7C ของครู 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อออนไลน์เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาครู. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 12(36), 13-26.

เมธาสิทธิ ธัญรัตนศรีสกุล. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: แนวทางปฏิบัติสำหรับครู The professional learning community: Practices guide lines for teachers. ว.มทรส. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2(2), 214 – 228.

ราชกิจจานุเบกษา. (2554). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขา ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี). เล่ม 128 ตอนพิเศษ 62ง หน้า 1.

วทัญญู ขลิบเงิน. (2556). การพัฒนาแบบจำลองการดูแลให้คำปรึกษาผสมผสานเทคโนโลยีสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นครูสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ. (2555). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาข้าราชการอัยการรายบุคคล Individual Development Plan: IDP Handbook. กรุงเทพฯ : สำนักงานอัยการสูงสุด.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2560). PDCA หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.ftpi.or.th/2015/2125.

สุชีรา มะหิเมือง. (2560). การพัฒนาองค์ประกอบของความสามารถทางการสะท้อนคิดของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 12(35), 17-32.

สำนักกรรมาธิการ 3. (2555). เอกสารประกอบการพิจารณา เรื่อง ครูพันธุ์ใหม่ คณะกรรมาธิการ การศึกษาสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24. วันพุธที่ 21 มีนาคม 2555 ณ ห้องประชุม คณะกรรมาธิการ หมายเลข 3601 ชั้น 6 อาคารรัฐสภา 3, 2555.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวทางการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ (2558). รายงานสถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักมาตรฐานวิชาชีพ, สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2558). หลักสูตรฝึกอบรม (หลักสูตรกลาง) มาตรฐานความรู้วิชาชีพครูของคุรุสภา 9 มาตรฐาน ปีการศึกษา 2558. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. (2555). คู่มือแผนพัฒนาสมรรถนะตามสายวิชาชีพของสำนักอนามัย. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

อภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์. (2555). การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร (Individual Development Plan, IDP) เพื่อการบริหารโรงเรียนและสถาบันการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ. วารสารบริหารการศึกษา มศว. ฉบับที่ 16 มกราคม – มิถุนายน 2555.

อพันตรี พูลพุทธา. (2561). รูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 13(37), 61-74.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2552). การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล Individual Development Plan : IDP. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.

Dick, Walter, Lou Carey, and James O. Carey. (2005). The Systematic Design of Instruction. 6th ed. Boston: Pearson.

Forum Education Ministers’ Meeting. (2010). Pacific Islands Forum Secretariat, Forum Education Ministers’Meeting Crown Plaza Hotel, Port Moresby, Papua New Guinea 13 – 14 October 2010 Session Four Improving Teacher Competency and Teaching Effectiveness in the Pacific.

Hord, S. M., Roussin, J. L., & Sommer, W. A. (2009). Building professional learning communities: Inspiration, challenge, surprise and meaning. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.

Kruse, Instruction to Instructional Design and the ADDIE Model [Online]. Accessed 19 June 2007, Available from http:www.e-learningguru.com/articles/art1_1.htm.

Queensland Government. (2014). Mentoring Beginning Teachers program, Mentor handbook Every student succeeding State Schools Strategy 2014–2018 Mentoring Beginning Teachers program Mentor handbook. Queenland: Australia.

School of Education The College of William & Mary. (2014). Handbook for Practica & Student Teaching Experiences. Williamsburg: U.S.A.

The National Institute of Education (NIE). (2009). A Teacher Education Model for the 21th Century. Singapore : The National Institute of Education (NIE).

University of New Mexico College of Education. (2010). New Mexico Teacher Competencies for Licensure. Retrieved September 25, 2017. From http://teachnm.org/experienced- teacher/nm-teacher-competencies.html?ai=1