ประสิทธิผลการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 : กรณีศึกษาหมู่บ้านหนองยางคำ ตำบลกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย The Driving Effectiveness Five Precepts Observing Village Project : A Case Study of Nongyangkham Village, Nongnang Sub-district, Thabo District, Nong Khai Province

Main Article Content

พระราชรัตนาลงกรณ์ และคณะ Phraradrattanarongkorn and Others

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเจตคติของประชาชนต่อโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่พยากรณ์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของประชาชน (3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของประชาชน  (4)  เพื่อศึกษาปัจจัยการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ที่พยากรณ์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของประชาชน (5) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านหนองยางคำ จำนวน 181 คน กำหนดขนาดโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ทดสอบสมมติฐานการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า  1) เจตคติต่อโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( x= 4.49) 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของประชาชน  โดยรวม อยู่ในระดับมาก (x  = 4.39) 3) พฤติกรรมเชิงจริยธรรมต่อโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( x  = 4.50) 4) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของประชาชน โดยการตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม โดยรวม ได้แก่ ปัจจัยความคาดหวังของชุมชน (X6) (ß = .329) ปัจจัยศิลปะการโน้มน้าวจิตใจ (X4) (ß = .302) ปัจจัยความต่อเนื่องของกิจกรรม (X2) (ß = .281) มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับตัวแปรตาม  (ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของประชาชน) (F = 63.427 ; p – Value = 0.001)  5) แนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 คือ ควรให้มีการวางแผนด้านนโยบาย การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม การจัดการเรียนรู้ภายในวัดและชุมชนตามความเหมาะสม ตลอดถึงการให้ความสำคัญกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และที่สำคัญควรได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองในพื้นที่ 


              This research aimed to (1) to study the attitudes of people toward five precepts observing village project, (2) to study factors forecast on the ethical behavior of the people, (3) to study the ethical behavior of the people, (4) to study driving factors five precepts observing village project, forecast on the ethical behavior of the people, (5) to study the development. A quantitative research. The sample was 181 people living Nongyangkham Village by Taro Yamane sampling. The intruments for collecting data were the document analysis, the questionnaire. Analyze data using were mean, standard deviation, median, interquartile range, multiple linear regression analysis. The research results were found as follows;  1) The attitude towards five precepts observing village project, overall high level ( x  = 4.49).  2) The factors influencing ethical behavior of people, overall high level (x  = 4.39).  3) The ethical behavior towards five precepts observing village project, overall high level ( x = 4.50).  4) The results of the analysis of the factors by examining the linear relationship between independent variables and dependent variables, overall were factor community expectations (X6) (ß = .329), factor art of persuasion (X4) (ß = .302), factor continuity of the activity (X2) (ß = .281) is linearly correlated with the dependent variable. (Factors Influencing People's Ethical Behavior) (F = 63.427; p - Value = 0.001).  5) The Developmental approach driving five precepts observing village project is policy should be planned, opportunity for all sectors to participate, management of learning within temples and communities as appropriate, the importance of local arts and culture, and most importantly, the cooperation of parents in the area.

Article Details

How to Cite
Phraradrattanarongkorn and Others พ. แ. (2018). ประสิทธิผลการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 : กรณีศึกษาหมู่บ้านหนองยางคำ ตำบลกองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย: The Driving Effectiveness Five Precepts Observing Village Project : A Case Study of Nongyangkham Village, Nongnang Sub-district, Thabo District, Nong Khai Province. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 13(39), 15–28. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/114382
Section
Research Articles

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

งานสำรวจข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้านหนองยางคำ ตำบลหนองนาง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. (วันที่ 5 กรกฎาคม 2559)

นฤมล มารคแมน. (2543). มนุษย์และความเป็นจริงของชีวิตในทัศนะของพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประยูร หนูสุก. การขับเคลื่อนการดำเนินการจัดทำโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในดำริสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช. แหล่งที่มา:https://thainews.prd.go.th/website_th/news/print_news/WNSOC6004280010088 [18 กันยายน 2560].

พระครูสันติวชิรกิจ (วิโมกข์) และคณะ. (2560). “แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เพื่อชุมชนสันติสุข :กรณีศึกษาชุมชนบ้านโนนดุม จังหวัดกำแพงเพชร”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์. ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ.

พระครูโสภิตกิตยาภรณ์. ขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล5. ข่าวสดรายวัน. แหล่งที่มา : https://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNekUzTURVMU9BPT0=§ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE5TMHdOUzB4Tnc9PQ== [15 กันยายน 2560].

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). การสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). คู่มือการดาเนินงาน โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5”.กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.