การโหยหาอดีตกับการกลายเป็นสินค้าในมิติการท่องเที่ยวของสังคมไทย Nostalgia and Commoditization in Tourism Dimension of Thai Society

Main Article Content

สกาวรัตน์ บุญวรรโณ และคณะ Sakawrat Boonwanno and Others

Abstract

                  บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแนวคิดเรื่องโหยหาอดีต และในการสร้างความหมายของปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยผ่านบริบทการท่องเที่ยว ซึ่งผู้วิจัยได้นำข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรม มาวิเคราะห์ สังเคราะห์โดยจำแนกผลการศึกษาพบว่า 1) การโหยหาอดีต (nostalgia) เป็นจินตนาการของบุคคล หรือกลุ่มคนที่เคยมีประสบการณ์ร่วมกันในอดีตผ่านการสร้างและผลิตซ้ำของความทรงจำในอดีต 2) ปรากฎการณ์การโหยหาอดีตในสังคมไทยเริ่มต้นจากการที่สังคมต้องเผชิญกับสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจและกระแสโลกาภิวัตน์ที่ค่อยแทรกซึมส่งผลให้คนในสังคมต้องมีการปรับเปลี่ยน และอยากที่จะย้อนกลับไปสู่วิถีแบบดั้งเดิมที่ผ่านมา การโหยหาอดีตถูกทำให้กลายเป็นสินค้านับว่าเป็นการสร้างความหมายขึ้นมาใหม่โดยใช้
การรื้อฟื้นวิถีชีวิต ฟื้นฟูวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมในอดีตร่วมกันเพื่อมาเป็นจุดขายในเชิงพาณิชย์ 3) นอกจากแนวคิดเรื่องการโหยหาอดีตจะช่วยสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นแล้ว ยังช่วยสร้างความทรงจำร่วมให้กับสังคมด้วย  


                 This article aims to review the concepts of nostagia and meaning making of longing for the past phenomenon in Thai society. The researchers used data from literature review to analyse and synthesize. The results are as follows: 1) Nostalgia is an imagination of a person or a group of people who have shared experiences in the past through the creation and reproduction of memories. 2) The longing for the past phenomenon in Thai society is from economic problems and infiltration of the globalization, resulting in people in society need to adjust and recall the traditional way of the society in the past. Nostagia is commercialized by resurrecting the way of life, restoring traditional culture and traditions in the past 3) In addition to generating income to local communities the concept of nostalgia in tourism context also create public memories in Thai society.

Article Details

Section
Academic Articles

References

กาญจนา แก้วเทพ, และสมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์. (2555). ความจริงแท้ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต: กรณีศึกษาชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ชนัญ วงษ์วิภาค. (2552). การท่องเที่ยววัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรยุทธ บุญมี. (2536). ประชาสังคม. กรุงเทพฯ: สายธาร.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2536). การศึกษาของชาติกับภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นตริ้นเนาวรัต.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2536). วิกฤติมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วัลยา.

ปฏิญญา ลิ้มโอฬารสุขสกุล. (2554). มวยไทย : กระบวนการกลายเป็นสินค้าในกระแสความทันสมัย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนามนุษย์และสังคม). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

พจวรรณ พันธ์จินดา. (2552). การวิเคราะห์ปรากฎการณ์โหยหาอดีตในภาพยนตร์ไทยย้อนยุคร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อศิลปะและการออกแบบ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย, กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

มงคลรัตน์ มหมัดซอและ. (2553). การจัดการพิพิธภัณฑ์เชิงโหยหาอดีต: กรณีศึกษาบ้านพิพิธภัณฑ์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารงานทางวัฒนธรรม). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

โศจิลักษณ์ กมลศักดาวิกุล. (2556). ตลาดย้อนยุคสามชุก: การเมืองเรื่องพื้นที่และธุรกิจแห่งการถวิลหาอดีต. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศิลปวัฒนธรรมวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

อัญชลี ชัยวรพร. (2545). จากกาแฟโบราณถึงอำพล ลำพูน: อารมณ์ถวิลหาอดีตของสังคมไทยชาตินิยมหรือวิกฤตตัวตน. สารคดี (มีนาคม): 48-54.

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2558). ความทรงจำ ประวัติศาสตร์ และการเฉลิมฉลองระลึกถึง:วันที่ 25 ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2558, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/636477

Baudrillard, Jean. (1994). The illusion of the end. Cambridge: Polity Press.

Jameson, F. (1991). Postmodernism, or, The cultural logic of late capitalism. Durham: Duke University Press.

Kelly, William W. (1986, November) Rationalization and nostalgia: Cultural dynamics of new middle-class Japan. American Ethnologist. 13, 603-618.

Matsuda, Kazunobu, editor. (1996). Two Sanskrit manuscripts of the Das'abhumikasutraKazunobu Matsuda. Tokyo: Centre for East Asian Cultural Studies for UNESCO, The Toyo Banko.

Rosaldo, Renato. (1993). “Imperialist Nostalgia” in Culture and Truth. London: Routledge.