การวิเคราะห์ประสิทธิผลการผลิตกำลังคนของวิทยาลัยเทคนิคสถาบันอาชีวศึกษา ในประเทศไทย Analysis of Effectiveness of Human Resources produced from Technical Colleges, Vocational Education Institute in Thailand

Main Article Content

นะโรดม อินต๊ะปัน และคณะ Narodom Intapan and Others

Abstract

               การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการผลิตกำลังคนของวิทยาลัยเทคนิค  ประเภทช่างอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในประเทศไทย กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นวิทยาลัยเทคนิค สถาบันอาชีวศึกษา ในประเทศไทย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 108 แห่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) บุคลากรฝ่ายบริหารทรัพยากร 1 คน 2) บุคลากรฝ่ายวิชาการ 1 คน  3) ผู้อำนวยการ 1 คน รวมแห่งละ 3 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) พิจารณาเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม Cronbach’s Alpha เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการวิจัยพบว่า  1.ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิค โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ประกอบด้วยปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่โครงสร้างองค์การ สภาพการใช้เทคโนโลยี ส่วนปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่สภาวะแวดล้อมภายนอก สภาวะแวดล้อมภายใน และปัจจัยด้านบริหารจัดการ ประกอบด้วยสภาวะผู้นำของผู้บริหาร วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร การบริหารการเปลี่ยนแปลง การกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ พฤติกรรมการมีส่วนร่วมและการติดต่อสื่อสาร พบว่าโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2.กระบวนการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิค สถาบันอาชีวศึกษา ในประเทศไทย โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ประกอบด้วยองค์การ สภาพแวดล้อม การบริหารจัดการ พบว่าโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.ความสำเร็จประสิทธิผลของวิทยาลัยเทคนิค สถาบันอาชีวศึกษา ในประเทศไทย โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ประกอบด้วยด้านผู้รับบริการ ด้านการเงิน ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ด้านกระบวนการภายใน พบว่าโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  


              The purpose of this study is to analyze the factors affecting the effectiveness of manpower productivity of Technical College, Industrial fields in High Vocational Certificate in Thailand, under Office of the Vocational Education Commission. from 108 there are three sample groups which included 1) a staff of Human Recourses Department 1 person 2) a staff of Academic Affair Department 1 person, and 3) a director 1 person. Purposive sampling was assigned which selects samples according to the research purposes. Questionnaires with 5 rating scales were used to collect data. Its reliability as Cronbach’s Alpha value equals 0.93. Statistics to be applied for data analysis are frequency, mean and standard deviation.


                Results showed as follows: 1.The results of the factors affecting the effectiveness of analysis of effectiveness of human resources produced from technical college, vocational education institute in Thailand in general and each part of the research which are organization structures, Technology conditions. The environment factors are internal and external environments. The management factors are leadership of leaders, leaders’ visions, change managements, strategic purpose designation, communication and relation behaviors. The result shows that the average is high.  2. The processes affecting the effectiveness of analysis of effectiveness of human resources produced from technical college, vocational education institute in Thailand in general and each part are organization, environment, management. The result shows the average is significantly high.  3.The success the effectiveness of analysis of effectiveness of human resources produced from technical college, vocational education institute in Thailand in general and each part consisting of services, financial success and learning and development, internal process. The result shows that the average is high.

Article Details

Section
Dissertations

References

กรรณิการ์ สุสม, สุดารัตน์ สารสว่าง, สุชาดา นันทะไชย, และสุนันท์ ศโกสุม. (2558). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านวิชาการและด้านบรรยากาศโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน ระดับปฐมวัยในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 5 (9), 73-88.

จงจิตต์ ฤทธิรงค์, และรีนา ต๊ะดี. (2558). ข้อท้าทายในการผลิตแรงงานฝีมือไทย เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารความหลากหลายทางประชากรและสังคมในประเทศไทย ณ ปี 2558, 129-147.

ณัฐสิฎ รักษ์เกียรติวงศ์. (2559, 11 สิงหาคม). มองลึกคุณภาพอาชีวะฯ ไทยสู่ทางแก้ไขตรงจุด1. คอลัมน์: วาระทีดีอาร์ไอ: มองลึกคุณภาพอาชีวะฯ ไทยสู่ทางแก้ไขตรงจุด. กรุงเทพธุรกิจ.

นรวัฒน์ ชุติวงศ์, และณัฐสิทธิ์ เกิดศรี. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 34 (130), 47-58.

ลัดดา อ่ำสะอาด. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของโรงเรียนเอกชน ในกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, กรุงเทพฯ.

วรนุช เจียมรจนานนท์. (2556). ซีพีแรมผลัดใบสู่ยุคนวัตกรรม. กรุงเทพธุรกิจ.

สุธน อ่อนเฉย, และทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. (2557). การศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอชุมแสง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 4 (7), 91-100.

สุดาพร ทองสวัสดิ์, และสุจิตรา จรจิตร. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา. บทความวิจัยเสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 วันที่ 10 พฤษภาคม 2556. น. 342, การวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมไทย.

สมจิตร พึ่งหรรษพร. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงระบบในการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาเครือข่ายคาทอลิก สังกัดสังฆมนฑลจันทบุรี. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Boal, K.B., & Hooijbdrg, R. (2001). Strategic leadership research: Moving on The Leadership Quarterly Yearly Review of Leadership, 11(4), 515–550.

Hoy, W.K., & Miskel, C.G. (1991). Educational administrations: theory research and Practice. (4th ed.). New York: McGraw, Hill Book Company.

_______ . (2008). Educational Administration: Theory, Research, and Practice, 8th ed. New York: McGraw – Hill.

Steers, R.M. (1977). Organizational Effective: A Behavioral view. California: good year Publishing Company, Inc.