การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 The Creative Tourism Management of Lower Northern Provinces 2

Main Article Content

ลาวรรณ เหมพิจิตร Lawan Hamphijet
ภิราช รัตนันต์ Phirach Rattanunt

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์  2) พัฒนารูปแบบและหาคุณภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ 3) สร้างคู่มือและหาคุณภาพการจัดการท่องเที่ยว      เชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ ผู้วิจัย  เอกสาร แบบสัมภาษณ์ และผู้เชี่ยวชาญ  ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ที่เกี่ยวของด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการในพื้นที่ และนักวิชาการ  จำนวน 36 คน ตรวจสอบรูปแบบและคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จำนวน 13 คน ผลการวิจัย พบว่า  1) สภาพการณ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 มีหลายลักษณะ เช่น การทำพระของจังหวัดกำแพงเพชร  การร้องเพลงและรำวงของจังหวัดพิจิตรในตลาดเก่าวังกรด  ศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรของจังหวัดนครสวรรค์ และการท่องวิถีชุมชนแพของจังหวัดอุทัยธานี  2) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2  เป็นการสร้างหรือเพิ่มมูลค่าให้แก่ทรัพยากรที่มีอยู่ให้สูงที่สุด ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติหรือวัฒนธรรม นำมาสร้างนวัตกรรมการสร้างสรรค์ ออกมาเป็นรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว สินค้าหรือบริการการท่องเที่ยวใหม่ๆ โดยความร่วมมือจากทางผู้ประกอบการ หน่วยงานสนับสนุนและชุมชน โดยสามารถสร้างการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ และเพิ่มทักษะให้แก่นักท่องเที่ยวได้ การศึกษาดังกล่าวจึงสามารถสรุปได้ว่า การจะพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ให้ก้าวสู่การเป็นเมืองที่มีรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้นั้น ต้องสามารถนำจุดเด่นของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 มาพัฒนาร่วมกับองค์ประกอบของบริบทต่างๆ ให้ประสานสอดคล้องกัน ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2ใน 6 องค์ประกอบ ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ หน่วยงานสนับสนุนเชิงสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ กิจกรรมหรือสินค้าเชิงสร้างสรรค์และการสื่อสารในเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวดังกล่าวมีคุณภาพในระดับดี และ 3) คู่มือการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพระดับดีสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือการนำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดได้  

Article Details

How to Cite
Lawan Hamphijet ล. เ., & Phirach Rattanunt ภ. . ร. (2018). การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2: The Creative Tourism Management of Lower Northern Provinces 2. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 13(38), 75–88. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/125267
Section
Research Articles

References

ธัญญา พรหมบุรมย์, นฤมล กิมภากรณ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม และสุขภาพในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ของประเทศไทย : เชียงใหม่ ลำพูน ลำปางแม่ฮ่องสอน. วารสารการบริการและท่องเที่ยวไทย. 10 (1), 71 – 87.

ณัฎฐ์ชรัชช์ สาระหงษ์. (2561). ศักยภาพทางวัฒนธรรมของชาวปกาเกอะญอ: พลวัตรการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 8(14), 87-102.

พิทักษ์ ศิริวงศ์, ปัทมอร เส็งแดง. (2011). การท่องเที่ยวของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในสังคมไทย. Veridian E-Journal, SU. 4 (2), 221 – 228.

พณกฤษ อุดมกิตติ. (2557). ศึกษาเรื่องการจัดการเส้นทางจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืนในพื้นที่เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7 (2).

ภัยมณี แก้วสง่า, นิศาชล จำนงศรี. (2555). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : ทางเลือกใหม่ของการท่องเที่ยวไทย. Suranaree J. Soc. Sci. 6 (1), 93-111.

ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 33(2), 331 – 366.

มนสินี บุญมีศรีสง่า. (2558). การให้ความหมายรูปแบบและกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวแบบดาร์กทัวร์รึซึ่ม พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี. E-Journal, Silpakorn University. 8 (2), 571- 592.

สุภางค์ จันทวานิช. (2539). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Richards, G. and Raymond, C (2000), Creative Tourism. ATLAS News 23, 16-20.

Richards, G. (2010). Creative Tourism and Local Development. In Wurzburger, R. (Ed.). Creative Tourism A Global Conversation how to provide unique creative experiences for travelers worldwide: at present at the 2008 Santa Fe & UNESCO International Conference on Creative Tourism in Santa Fe. (pp. 78-90). New Mexico. USA.

Richards, G. (2011). Creativity and tourism: the state of the art. Annals of Tourism Research 38 1225-1253.

Romana KOREZ-VIDE.(2013), Creative tourism as a source of innovativeness and sustainability in tourism. 1307-1320.

Smith, L.W. (2006). Experiental Tourism aroundthe World and at Home: Definitions and Standards. International Journal of Services and Standards. 20 (1), 1-14.