ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ที่มีต่อทักษะกระบวนการทำงาน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 Effect of Learning Management by using Davies Instructional Model to Work Procedure Skills in Career and Technology of Prathomsuksa 5 Students

Main Article Content

ทัศนีย์ สุอาราม และคณะ Tassanee Suaram and Others
พรรณราย เทียมทัน

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กับเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลตาคลี(ขุนตาคลีคณะกิจ) จังหวัดนครสวรรค์ ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 6 แผน มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในระดับ เหมาะสมมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X} = 4.80) 2) แบบประเมินทักษะกระบวนการทำงาน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว (t-test แบบ one-sample)


                ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์มีทักษะกระบวนการทำงานอยู่ในระดับดี

  2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์มีทักษะกระบวนการทำงานสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 


              The purposes of study were 1)to study the working skills of Prathomsuksa 5students taught by using Devies Instructional Model 2)to compare the student’s working skills after they had to learnt by using Devies Instructional Model with 80 percent of total scores . The research samples were 32 students of Prathomsuksa 5 (Grade 5) Students at Tessaban Takhli - Kuntakhlikanakit School, Nakhon Sawan. The experiment was conducted during in the 2nd semester of 2017 academic year. They were included as a sample. The research instruments were: 1) Career and Technology 6 lesson plans by using  Devies Instructional Model with high appropriate  (gif.latex?\bar{X}  = 4.80) and 2) The Working Skills Assessment with Reliability value of 0.97. Data were analyzed by using simple statistic models, and t-test (one-sample).


                The research findings were as follows:


  1. The Prathomsuksa 5student’s working skills after they had learnt by using Devies Instructional Model was good level

  2. The Prathomsuksa 5student’s working skills after they had learnt by using Devies Instructional Model was statistically higher than with 80 percent of total scores at .01 level significance.

Article Details

How to Cite
Tassanee Suaram and Others ท. ส. แ., & เทียมทัน พ. (2018). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ที่มีต่อทักษะกระบวนการทำงาน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5: Effect of Learning Management by using Davies Instructional Model to Work Procedure Skills in Career and Technology of Prathomsuksa 5 Students. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 13(38), 149–162. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/130222
Section
Dissertations

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวทางการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

_______. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.

_______. (2552). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กฤษณา อุดมโภชน์. (2555). ผลของการสอนแบบโครงงานที่มีต่อทักษะแสวงหาความรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 3(5), 11-26.

ชนันทวิไล ธงเชื้อ. (2555). การใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ในรายวิชาสาระเพิ่มผลิตภัณฑ์ลายปักชาวเขาสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. (อาชีวศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

นงนุช พรมมาเข้. (2554). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติ เรื่องการทำขนมปุยฝ้ายประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนน้ำพองศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

นันทนา ทองมูล. (2554). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การจับจีบผ้าประดับโต๊ะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

บุปผา กัติยัง. (2556). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะปฏิบัติการทำขนมในท้องถิ่นสงขลาและความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

ปนัศา ยั่วยวน. (2557). ผลการพัฒนาทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ดอกไม้แห้งโยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพแลเทคโนโลยีของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.

พิมพิลาภรณ์ วัลคํา. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระนาฏศิลป์ เรื่อง เซิ้งสานกระด้ง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเชียงเพ็ง ตามแนวคิดของเดวีส์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

พรรณธิภา เอี่ยมสิริปรีดา. (2561). แนวคิดและทฤษฎีในการศึกษาแรงจูงใจอาสาเพื่อการส่งเสริมการเป็นพลเมืองใส่ใจสังคม. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 13(37), 1-16.

ปกรณ์ ประจันบาน. (2560). การวิจัยและพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 13(35), 1-16.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ที่เน้นการปฎิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ไสว ฟักขาว. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.

Davies, I.K. (1971). The Management of Learning. London: McGraw - Hill.

Hergenhahn, B.R. & Olsen, M. H. (1993). An Introduction to Theories of Learning 14th ed Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Tan & Chua. (2008). Innovation in education: The Teach Less, Learn More Initiative in Singapore Schools. Innovation in Education. 153-171.