ผลการใช้ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 The Effectiveness of using the Solar System Instructional Package in teaching Science and the attitudes of Grade 4 students towards learning Science

Main Article Content

สุนันทา เอี่ยมอนันต์ และคณะ Sunantha Aimanan and Others

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์   2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มและ3)  เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์   กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2561 โรงเรียนเทศบาลวัดสุคตวราราม  สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครสวรรค์  อำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์จำนวน 25 คน  ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม  (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด  4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.32 – 0.68 ค่าอำนาจจำแนก 0.40 – 0.80  และ 2) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน จำนวน 15 ข้อวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าการทดสอบค่าที (t-test แบบ Paired sample test และแบบ One Sample test)


                   ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน  สูงกว่า ร้อยละ 70  ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนมีเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับมากที่สุด   

    The purposes of this research were 1) to compare the pretest and posttest score of Grade 4 students of evaluate the effectiveness of the Solar System instructional package 2) to examine whether the students can pass 70% of the full score or not. 3) to study the attitudes towards learning science of Grade 4 students who were through the science instructional package.


                       The participants used in this study were 25 students who study in Grad 4


    at Watsukhotwararam Municipality School Nakhonsawan Municipality. They were enrolled in the first semester of the academic year 2018, and were selected by cluster random sampling. The research instruments were 1) The Solar System instructional package. 2) The science test, containing 30 items of multiple choices, with has the degree of difficulty from 0.32 to 0.76 and the degree of discrimination from 0.40 to 0.80 3) The attitude questionnaire with 15 items. Data were analyzed by using Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation (S.D.). Dependent samples t-test analysis was employed in hypothesis testing.


                       The results were as follows :


                       1) The students posttest score were higher than the pretest after learning through the Solar System instructional package at the .05 level of statistical significance.


                       2) The students can pass more than 70% of the full score. at the .05 level of significance.


                       3) The students attitudes towards learning science taught by using the instructional package was positive.



Article Details

Section
Dissertations

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ธันยาภรณ์ กองสิงห์. (2555). การพัฒนาชุดการสอน เรื่อง สารละลายกรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

นันท์นภัส ฟักทอง. (2553). ผลการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมเรื่อง ความรู้วิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับเครื่องปั้นดินเผา หมู่บ้านเหมืองกุง ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นวลละออง ทองยุ้น. (2554). การพัฒนาชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต(สาขาหลักสูตรและการสอน). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มณฑา บัวสวัสดิ์. (2547). การพัฒนาชุดการสอนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต(สาขาหลักสูตรและการสอน). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

โรงเรียนเทศบาลวัดสุคตวราราม. (2560). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. นครสวรรค์: ฝ่ายวิชาการโรงเรียนเทศบาลวัดสุคตวราราม
สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2547). การผลิตชุดการสอน. ราชบุรี: ธรรมรักษ์การพิมพ์.

สุธานี นุชมอญ. (2559). การพัฒนาชุดการสอน เรื่อง ดาราศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

หนูอาจ ขิงรัมย์. (2550). การพัฒนาชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต(สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

Dale.ME. (1973). “A Comparative Study of Achievement Between college students Being Taught in the Traditional Manner and These Taught with learning Modules” Dissertation Abstracts International. 34 (10) : 6481 – A.

Meek, E.B. (1972, February). “Learning package versus conventional methods of international”. Dissertation Abstracts International.

Vivas, David A. (1985). “The Design and Evaluation of a Course in Thinking Poerations for First Grade in Venezuela (Cognitive, Elementary Learning)” Dissertation Abstracts International.