ผลการใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย Results from the Use of Experience Enhancing Activities Towards the Scientific Process Skills of the Preschool Children
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครนครสวรรค์ จำนวน 30 คน ซึ่งได้ มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์จำนวน 20 แผน 2) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เป็นแบบการให้ปฏิบัติจริงแบ่งเป็น 4 ทักษะ รวม 16 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นดังนี้ แบบวัดทักษะการสังเกต เท่ากับ 0.89 แบบวัดทักษะการจำแนกประเภท เท่ากับ 0.88 แบบวัดทักษะการวัด เท่ากับ 0.71 และแบบวัดทักษะการคำนวณ เท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test แบบ (One Sample Test) และ t-test แบบ (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังการจัดประสบการณ์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of this research were 1) to compare the scientific process skill of the preschool children who got experience practicing using the experience enhancing activities with the 70% criteria. 2) To compare the scientific process skill of the preschool children before and after using the experience enhancing activities. The study group was from the random segmentation and they were 30 preschool children aged between 4-5 years old, from kindergarten 2 who were studying in 1st semester of academic year 2017 at Watsai Nuae Municipal School, Department of Education, Nakhon Sawan Municipality. The research tools were 1) 20 plans for experience practicing using the experience enhancing activities. 2) The scientific process skill test of the preschool children, which was the real practice test divided into 4 skills comprised with 16 questions. The reliabilities were as follows; the observation skill was 0.89, classification skill was 0.88, measurement skill was 0.71 and the calculation skill was 0.81. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, One Sample Test t-test and Dependent Sample t-test.
The research found that
- The preschool children who got experience practicing using the experience enhancing activities have scientific process skills higher than 70% of the overall score with statistical significance at the level.01
- The preschool children who got experience practicing using the experience enhancing activities have higher scientific process skills after the practice with statistical significance at the level.01
Article Details
References
_______. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
_______. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนสำนักงานปลัด.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบสบุ๊คส์.
จุฑามาศ เรือนก๋า. (2553). การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (ประถมศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ทองพูล ฤกษ์จันทร์. (2551). ผลการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตแขนงวิชาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นภเนตร ธรรมบวร. (2549). การพัฒนากระบวนการคิดในเด็กปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาพร สุรินทร์. (2553). ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 ทรงพลวิทยา จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต แขนงหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
พุทธธิดา ชูศรสาย. (2560, พฤษภาคม – สิงหาคม). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 12(35), 117-128.
รัศมี อ่วมน้อย. (2558, กรกฎาคม). การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มี ต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านวังหันน้ำดึง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 5(ฉบับพิเศษ), 37-52.
สมปอง ราศี. (2558, กรกฎาคม). การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านวังกวาง. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 5(ฉบับพิเศษ), 53-68.
เอราวรรณ ศรีจักร. (2550). การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรม การเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
Bruner, J.S. (1961). The Process of Education. Harward University Press Cambridge Massachusetts. Mantziopoulos P, Patrick H and Samarapungavan A. (2008). Young children motivational beliefs about learning science. Journal of Research in Science Teaching. 23(3): 378-394.
Neuman, D.B. (1981). Experience in Science for Young Children. New York: Macmillan Publishing Co., Inc.
Piaget, .J. (1952). The Language and Thought of the Child translated by MajorieGabin. London: Routledge&Kegan Paul Ltd.