ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่มีต่อทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย The Effect of Educational Management Game Activities on Using Mathematical Skills of Early Childhood Children

Main Article Content

เพียงใจ ภู่โทสนธิ์ และคณะ Phiengjai Phutoson and Others

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษากับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 2) เปรียบเทียบทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชายหญิงที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จากโรงเรียนเทศบาลวัดวรนาถบรรพตสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครสวรรค์ จำนวน 30 คนซึ่งทำการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้เกมการศึกษา จำนวน 20 แผน 2) แบบวัดทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้ค่า t-test (Dependent Sample)


                   ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจำนวนร้อยละ85.93 ของเด็กปฐมวัยทั้งหมดมีทักษะคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม  2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีทักษะคณิตศาสตร์หลังการจัดกิจกรรม สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


                  The purposes of this research were 1) to compare mathematical skills of early childhood children who used educational management game activities of 75 percent from the total scores,  2) to compare mathematical skills of early childhood children before and after using educational management game activities. The sample group in this research consisted of 30 male and female students age between 5-6 years old, who were studying in Kindergarten 3, during semester 1, academic year 2017 at Wat Woranartbanphot Municipality School, Education Department, Nakhon Sawan City Municipality. The samples were selected by cluster random sampling. The research instruments were 1) game activities plan the 20 plan, 2) mathematical skills ability test with 10 items. The data were analyzed by basic statistics namely mean, standard deviation, and   t-test (dependent sample).


                The research findings were as follows:  1) 85.93 percent who used educational management game activities early childhood children have mathematical skills of 75 percent from the total scores.  2) The early childhood children who used educational management game activities have mathematical skills higher than before the activities with a statistical significant level of .01.

Article Details

How to Cite
Phiengjai Phutoson and Others เ. ภ. แ. (2018). ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่มีต่อทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย: The Effect of Educational Management Game Activities on Using Mathematical Skills of Early Childhood Children. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 13(39), 127–140. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/141644
Section
Dissertations

References

กรมวิชาการ. (2540). คู่มือหลักสูตร 2 ก่อนประถมศึกษาพุทธศักราช 2540 (อายุ 3 – 6 ปี). กรุงเทพฯ.

_______. (2546 ). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็ก อายุ 3-5 ปี). กรุงเทพฯ.

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2540). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โปรดักส์.

ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: บริษัทเดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นท์.

ปณิชา มโนสิทยธากร. (2553). ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูป เรขาคณิต. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วน จำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

พิชญ์นี โชติชะวงศ์. (2554). การใช้เกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรณัน ขุนศรี. (2552). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในการคิด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. วิชาการ, 12(3), 60.

วรรณี วัจนสวัสดิ์. (2552). ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-5 ปี). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สุพิชฌาย์ ทนทาน. (2559). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

สุมาพร เฉลิมผจง. (2556). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

หรรษา นิลวิเชียร. (2535). ปฐมวัยศึกษาหลักสูตรและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อารมณ์ สุวรรณปาล. (2551). ประมวลสาระชุดวิชา: การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อัญชีลี ไชยวรรณ. (2548). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Bruner, Jerome S. (1965). Studies in Cognitive Growth: Collaboration at the Center for Cognitive Studies. New York: John Wily and Sons.

Dewey, J. (1938). Experience and education. New York: Collier Books.

Gagne, R. M. (1985). The Condition of Learning. New York: Holt, Rinchart and Winston.

Piaget, S. (1964). Congnition Development in Children. Journal of Research in Science Teaching. 10(2): 170-186.