การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำครูระดับมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Teacher Leadership Indicators for Secondary School teachers in the 21st Century

Main Article Content

ณัฐชนก เนาวรังษี และคณะ Natchanok Naowarangsi and Others

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำครูระดับมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ ภาวะผู้นำครูระดับมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งการดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การจัดทำตัวบ่งชี้เชิงทฤษฎี โดยการสังเคราะห์เอกสาร แล้วสังเคราะห์เป็นตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำครูระดับมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 และขั้นตอนที่ 2 เป็นการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำครูระดับมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำนวน 512 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของข้อมูลที่จะมาวิเคราะห์องค์ประกอบ คือ ค่า Bartlett’s Test of Sphericity และค่า Kaiser-meyer-olkin Measure of Sampling Adequacy (KMO) และใช้โปรแกรมสาเร็จรูป LISREL วิเคราะห์องค์ประกอบและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์  


               ผลการวิจัยพบว่า


               1.ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้ ปรากฏว่าได้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำครูระดับมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำนวน4องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย และ 75 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ด้านการเป็นครูมืออาชีพมีจำนวน 4 องค์ประกอบย่อย และมีตัวบ่งชี้ จำนวน 20 ตัวบ่งชี้ ด้านการพัฒนากระบวนการคิด มีจำนวน 5 องค์ประกอบย่อย และมีตัวบ่งชี้ จำนวน 25 ตัวบ่งชี้ ด้านการทำงานเป็นทีม มีจำนวน 3 องค์ประกอบย่อย และมีตัวบ่งชี้ จำนวน 15 ตัวบ่งชี้ ด้านการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี มีจำนวน 3 องค์ประกอบย่อย และมีตัวบ่งชี้ จำนวน 15 ตัวบ่งชี้ 


               2.ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้พบว่า โดยมีค่าสถิติดังต่อไปนี้ คือ x2 =34.49, DF =34, P-value =0.444, x2/df =1.014,  GFI =0.99, AGFI =0.97, CFI = 1.00, SRMR =0.008, RMSEA = 0.005 และ CN = 826.96 โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นไปตามสมมติฐาน


                The objectives of this study were: 1) to develop the teacher leadership indicators for secondary school teachers in the 21st century and 2) to examine the goodness of fit for the structural model of teacher leadership indicators for secondary school teachers in the 21st with the empirical data.


               There were two phases in this study. The first phase was the theoretical indicators construction by documentary synthesis, then synthesized the data for the teacher leadership indicators for secondary school teachers in the 21st. The second phase was to examine the structural model’s consistency with the empirical data.


                The samples were 512 school teachers drawn from the schools. The study instruments for data gathering consisted of a 5-point rating scale questionnaire. The SPSS was applied for quantitative data analysis to obtain mean, standard deviation bartlett’s test of sphericity and kaiser-meyer-olkin measure of sampling adequacy (KMO) were used for the appropriateness of the data for factor analysis. LISREL program was used for confirmation factor analysis and examining the consistency of developed model with the empirical data.


                The findings of this study were summarized as follows: 


                1.The results of the indicator formation and development were found that the teacher leadership indicators for secondary school teachers in the 21st century were classified into 4 core factors, 15 sub-factors and 75 indicators. They were the teacher development with 4 sub-factors and 20 indicators; the development of thinking process with 5 sub-factors and 25 indicators; teamwork with 3 sub-factors and 15 indicators and the last one was the development of innovation and technology with 3 sub-factors and 15 indicators. 


            2.The consistency of examining of the indicators’ confirmatory factor analysis model was found that the models were fit to the empirical data following the hypotheses and based on the statistics as follow : x2 =34.49, DF =34, P-value =0.444, x2/df =1.014, GFI =0.99, AGFI =0.97, CFI = 1.00, SRMR =0.008, RMSEA = 0.005 and CN = 826.96

Article Details

How to Cite
Natchanok Naowarangsi and Others ณ. เ. แ. (2019). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำครูระดับมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: Teacher Leadership Indicators for Secondary School teachers in the 21st Century. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 14(1), 65–78. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/151428
Section
Dissertations

References

กฤษพงษ์ กีรติกร. (2557). การยกระดับคุณภาพครู. ใน การประชุมคณะกรรมการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู ครั้งที่ 2/2557, หน้า 50-51. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2544). การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การคิดโดยใช้การวิจัยเป็นฐานในการสร้างองค์ความรู้
สำหรับครูประจำการ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ. 1(1), 9-23.

ตวง อันทะไชย. (2558). พัฒนาการสอนกระบวนการคิดทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: บริษัทวี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา : กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

ศุภลักษณ์ สุวรรณวิทย์, ณัฐรดา วงษ์นายะ และกิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะ ของนักวิชาการคลังสำนักงานคลังจังหวัด. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 8(14), 117-136.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ. (2557). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Adkins. (2015). Policy analysis for educational leaders. Burlington: Pearson Education, Inc.

Bernal. (2014). Teacher Education Still Needs Feminism. Doctor of philosophy, Prescott College.

Hoy & Hoy. (2013). Reframing Teacher Leadership to Improve Your School. Department of teaching and leadership, Syracuse University.

Northouse. (2012). Leadership. 6th ed. California: Sage publications, Inc.

Seltz. (2014). School Leadership. 4thed. London: Sage Publications, Ltd.