การพัฒนาชุดการสอนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 The Development of Thai Instructional Package on the Part of Speech for Prathomsuksa 6 Students

Main Article Content

ทิพยฉัตร พละพล และคณะ Thippayachat Parapon and Others

Abstract

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนภาษาไทย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนภาษาไทย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดคลองบางเดื่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 จำนวน 1 ห้องเรียน 20 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดการสอนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ 83.57/87.83 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.29 – 0.79 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.29 – 0.71 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.79 3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลัง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมายกำกับของวิลคอกซัน


                 ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.57/87.83 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 13.40 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.00 และจากการเปรียบเทียบด้วยการทดสอบทีพบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนภาษาไทย มีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50


                  The purposes of this research were 1) to develop the Thai instructional package on the part of speech for Prathomsuksa 6 students with the efficiency of 80/80 standard criterion, 2) to compare the achievement in Thai of Prathomsuksa 6 students before and after being taught by using the Thai instructional package, and 3) to explore the student’s satisfaction to Thai subject after being taught by using the Thai instructional package. The samples were 20 Prathomsuksa 6 students of Watkongbangduea School who were studying in the first semester, academic year 2018. The samples were selected by Cluster Random Sampling. The research tool were 1) the Thai instructional package on the part of speech for the Prathomsuksa 6 students with efficiency at 83.57/87.83 2) 30 questions of thai learning achievement test with 4 multiple choices, the degree of difficulty between 0.29 – 0.79, the discrimination power between 0.29 – 0.71 and the reliability index of 0.79 3) A questionnaire on the students satisfaction to the thai subject on the part of speech. Data collection by One-group pretest-posttest - posttest design. The statistics used for the analysis were percentage, standard deviation and testing hypothesis by Wilcoxon Signed-Rank test.


                  The research findings were as follows:  1) The Thai instructional package on the part of speech for Prathomsuksa 6 students had the efficiency value at 83.57/87.83  2) The Thai learning achievement of Prathomsuksa 6 students after using the Thai instructional package had pre-test mean score by 13.40 and post-test mean score by 25.00 was higher than before using with the statistical significance at the .05 level. 3) The Prathomsuksa 6 students had high Satisfaction learning Thai subject using the Thai instructional package. Mean score by 4.66 with the standard deviation of 0.50

Article Details

Section
Dissertations

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์, บุญเลิศ ส่องสว่าง, และวาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2551). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน หน่วยที่ 8-15 (ชุดการเรียนการสอน). (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2553). วรรณศิลป์ในดวงใจภาษาไทยที่รัก. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชซิ่ง.

ธมลวรรณ โชติระโส. (2553). การสร้างชุดการสอนเพื่อพัฒนาการเขียน เรียงความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (ภาษาไทย). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

นิพนธ์ ศุขปรีดี. (2537). การออกแบบสื่อประสมเทคโนโลยีและสื่อการสอนหน่วยที่ 9-12. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). นวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: SR Printing.

บุญชู สนสกุล. (2552). การพัฒนาชุดการสอนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

พนิตนันท์ สุจินตวงษ์ นิธิดา อดิภัทรนันท์ และนันทิยา แสงสิน. (2561). กลวิธีการเรียนรู้ภาษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและเขียนของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 สาขาเทคนิคยานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 8(15), 153-168.

พะเยาว์ สิมภาลี. (2556). การพัฒนาชุดการสอน เรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการหลักสูตรและการเรียนรู้). มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

สำลี ทองประสาร. (2551). การพัฒนาชุดการสอน เรื่องชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

สุจริต เพียรชอบ, และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2538). วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Anne E. Belcher. (1975). Utilization of a Competency-Based Approach to the Development of Individualized Instructional Packages in Pharmacology for Professional Nursing Students. The Florida State University Colege Of Education: Michigan.